อัตลักษณ์ภูมิปัญญาในผ้าทอไทพวนสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์

Main Article Content

Chukiat Ananwettayanon
กิตติสันต์ ศรีรักษา
ธีระยุทธ์ เพ็งชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของผ้าทอไทพวนในประเทศไทย 2) ศึกษาอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญางานหัตถกรรมผ้าทอจกไทพวนหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย 3) ออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ภูมิปัญญางานหัตถกรรมผ้าทอจกไทพวนหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมุ่งทำการศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของงานหัตถกรรมผ้าทอของชาวไทพวนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่ต่างๆ ที่มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นชมรมไทยพวนแห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาทำการวิจัยนี้ ทั้งสิ้น 23 จังหวัด แล้วทำการวิเคราะห์คัดกรองความคงอยู่ของอัตลักษณ์งานหัตถกรรมผ้าทอทั้งในส่วนของลวดลาย สีสัน วัสดุ และกระบวนการผลิต แล้วนำอัตลักษณ์ที่พบในงานหัตถกรรมผ้าทอไทพวนนั้นมาผ่านกระบวนการทางสัญญะวิทยา เพื่อให้ได้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ข้อมูลเป็นงานออกแบบผลิตภัณฑ์


ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ที่มีการรวมกลุ่มผลิตงานหัตถกรรมผ้าทอเพื่อจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันทั้งสิ้น 9 กลุ่ม ใน 9 จังหวัด ซึ่งมีงานหัตถกรรมผ้าทอที่เป็นอัตลักษณ์ของตน เมื่อวิเคราะห์ตามทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ พบว่ามีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันของแต่ละกลุ่ม ซึ่งในทุกกลุ่มนี้ มีกลุ่มทอผ้าของชาวไทพวนบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย ที่ยังมีการรักษาอัตลักษณ์ภูมิปัญญางานผ้าทอ ครบทั้งในส่วนของลวดลาย สีสัน วัสดุ และกรรมวิธีการผลิต โดยผลิตภัณฑ์ที่เห็นเด่นชัดที่สุด คือ ผ้าทอตีนจกของชาวไทพวนหาดเสี้ยว ผู้วิจัยจึงนำอัตลักษณ์ของงานผ้าทอตีนจกของชาวไทพวนบ้านหาดเสี้ยว มาทำการวิเคราะห์ถอดสัญญะของลายผ้าทอตีนจก ที่ประกอบไปด้วยแม่ลายหลัก 9 ลาย และลายประกอบ 10 ลาย เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบ คือลวดลายที่ถอดในระดับ Icon Idex และ Symbol รวมทั้งการวิเคราะห์ตีความตามหลักทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ ได้เป็นชุดความหมาย 4 ชุด คือชุดความดี ความงาม ความรัก และความเป็นหนึ่งเดียว จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาทำการสังเคราะห์ผ่านกระบวนการออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของตกแต่งภายในบ้าน จำนวน 4 ชุด ชุดละ 2 ชิ้น รวมได้ผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น 8 ชิ้น ที่ผ่านการปรึกษาและคัดเลือกรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อนำไปทำการประเมินความพึงพอใจในรูปแบบและการใช้งานผลิตภัณฑ์ของตกแต่งภายในบ้าน จากอัตลักษณ์และภูมิปัญญาหัตถกรรมผ้าทอจกไทพวนหาดเสี้ยวทั้ง 8 ชิ้น จากกลุ่มเป้าหมาย คน ผลการประเมินพบว่า ผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ชุดความหมาย มีความพึงพอใจในภาพรวมระดับ มาก

Article Details

บท
การออกแบบ

References

เจนสุดา สมบัติ. (ม.ป.ป.). ความเป็นพวน ในปรากฏการณ์ความเป็นไทยร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษย

วิทยามหาบัณฑิต). มานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เจ้าคำหลวง หน่อคำ; พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร และ สมชาย นิลอาธิ แปลเป็นภาษาไทย. (2555). ประวัติศาสตร์เมืองพวน (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

ทรงคุณ จันทจร และคนอื่นๆ. (2552). คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่า

ทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ (รายงานการวิจัย).

มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน.

ภมนพร จันทร์วัฒนะ. (2549). การตัดสินใจซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน ของลูกค้า Index Living Mall

ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (ผู้นำทางสังคมธุรกิจและการเมือง)). มหาวิทยาลัยรังสิต.

วรา ชาภูคา. (2556). อัตลักษณ์ไทยพวน: กรณีศึกษาไทยพวน ตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. (ปริญญาศิลปะศาสตร์

มหาบัณฑิต(ไทยคดีศึกษา)). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมเกียรติ ตั้งนโม. (2552). ทฤษฎีสี. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2558, จาก http://basic-animation.com/moodle.

สมพงษ์ กรกรรณ์. (2527). การออกแบบกราฟฟิก. กรุงเทพฯ : สัมพันธ์พาณิชย์.

สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์. (2544). วาทกรรมสื่อโฆษณาการท่องเที่ยว: ภาพตัวแทน ตัวตน และความเป็นไทย (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่:

ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สาธร โสรัชประสพสันติ. (2555). สาธรพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564, จาก

http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/thai-phuan-teenjok.html

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). อัตลักษณ์ (identity) : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยามานุษยวิทยา

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Cheesman, P. (2015). A New method of classification for Tai textiles. The Journal of the Siam Society, 103, 89-106

Talcott Parsons. (1937). The Structure of Social Action, New York : Mc Graw Hill. Retrieved From https://www.britannica.com/topic/The-Structure-of-Social-Action.

Tsang, K. M. (2016). Study of fabric texture effects on visual and imaging color difference evaluation. Hong Kong: Hong Kong Polytechnic University.