นวัตกรรมการพัฒนาเส้นใยบัวหลวงผ่านกระบวนการพลาสมา

Main Article Content

Ekasit Meepraseartsagool
พัดชา อุทิศวรรณกุล

บทคัดย่อ

          นวัตกรรมการพัฒนาเส้นใยบัวหลวงผ่านกระบวนการพลาสมา มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมสิ่งทอและเส้นใยที่เพิ่มมูลค่าจากเศษเหลือทิ้งทางการเกษตร ด้วยแนวคิดต่อยอดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เรื่องการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ และผลิตผลทาง การเกษตรโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรขั้นสูงท่ีมีคุณค่าเฉพาะ รวมถึงองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท่ีทันสมัย มีประสิทธิภาพในการแปรรูป สร้างความแตกต่าง สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ค.ศ. 2018 - 2037 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่1 การศึกษาการพัฒนาเส้นใยบัวหลวง โดยร่วมกับการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเส้นใยธรรมชาติที่นำกลับมาใช้ซ้ำ โดยศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรม และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่2 ศึกษาและทดลองการทอชนิดสานขัด (Plain Weave) กับการทอทางอุตสาหกรรมจากเครื่องทอ Flat Knitting  ขั้นตอนที่3 การทดลองปรับเปลี่ยนคุณสมบัติสิ่งทอด้วยกระบวนการพลาสมาซิงค์โซลูชั่น เพื่อเพิ่มคุณสมบัติเฉพาะตัวด้านการซึมซับน้ำ การไม่ซึมซับน้ำ การต้านแบคที่เรีย


ผลการศึกษานวัตกรรมการพัฒนาเส้นใยบัวหลวงผ่านกระบวนการพลาสมา พบว่าเส้นใยบัวหลวงมีลักษณะทางกายภาพของความยาวชนิดเส้นใยสั้น แต่แข็งแรง เมื่อนำมาผสมกับเส้ยใยฝ้าย หรือเส้นใยฝ้ายรีไซด์เคิล (อย่างใดอย่างหนึ่ง) สามารถ เพิ่มความยาวและความแข็งแรงของเส้นใยมากขึ้น สามารถนำมาแปรรูปในลักษณะสิ่งทอด้วยกระบวนทอในรูปแบบการทอชนิดการทอสานขัด ทางอุตสาหกรรมจากเครื่องทอ Rapier และการทอทางอุตสาหกรรมจากเครื่องทอ Flat Knitting Shima Seiki SVR123SP พบว่าการทอแบบ Flat Knitting เกิดความยืดหยุ่นได้ดีกว่าการทอชนิดการทอสานขัดด้วยเส้นด้ายชนิดเดียวกัน เมื่อนำมาผ่านกระบวนการพลาสมาแบบ DBD Jet Roll to Roll Zinc Solution สิ่งทอที่ได้จะมีคุณสมบัติ การซึมซับน้ำได้ดี(Hydrophillic), การไม่ซึมซับน้ำ (Hydrophobic)ในสัดส่วนของเวลาที่ต่างกัน, การเคลือบป้องกันสิ่งสกปรก และสามารถเพิ่มคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรียโดยมีการเปรียบเทียบก่อนซักและหลังซัก ทดสอบตามมาตราฐาน AATCC 100:2019 โดยใช้เชื้อแบคทีเรียชนิด STAPHYLOCOCCUS AUREEUS ATCC 6538 การประเมินค่าการต้านแบคทีเรีย พบว่าค่าการต้านแบคทีเรียมีอยู่ที่ร้อยละ (R) 89.08 หลังจากนั้นนำผ่านกระบวนการซัก 30 ครั้ง การประเมินค่าการต้านแบคทีเรีย พบว่า ค่าการต้านแบคทีเรียเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ (R) มากกว่า 99.99 นั้นหมายถึงการซักล้าง ยิ่งเพิ่มค่าการต้านแบคทีเรีย นวัตกรรมการพัฒนาเส้นใยบัวหลวงผ่านกระบวนการพลาสมาซิงค์โซลูชั่น สามารถเป็นทางเลือกในอุตสาหกรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมแฟชั่นสปอร์ตแวร์ และผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ รวมถึงการนำทรัพยากรธรรม ชาติมาใช้ประโยชน์สูงสุดตามหลักทฤษฎี Zero-Waste และ Circular Economy ที่เป็น กระบวนทัศน์ความยั่งยืนใหม่ "ของเสียที่ไม่เสียของ" ภายใต้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Sustainable)

Article Details

บท
ทัศนศิลป์

References

COP 26 (2021). Retrieved from https://thaipublica.org/2021/10/what-is-cop-26

Fiona M. (2016 ). Plasma Processes and Polymers. Retrieved September 2022, from

https://www.researchgate.net/publication/309256692

S. Mowafi, M. Abou Taleb, H. El-Sayed, (2022). A Review of Plasma-Assisted Treatments of Textiles for Eco-

Friendlier Water-Less Processing. Egyptian Journal of Chemistry. 65(5), 737 - 749.

Dr. Neerja Gupta. (2020). The Spiritual Power of Lotus Fabric. IOSR Journal of Humanities And Social Science

(IOSR-JHSS). 25(7), 11-15.

Sangita Tomar, Nirmal Yadav (2019). Lotus Fiber: An Eco-Friendly Textile Fiber. International Archive of

Applied Sciences and Technology. 10(2), 209-215.

ทมนี สุขใส. (2019). การเชื่อมโยงความรู้ในโซ่อุปทานการทำนาบัวหลวงตัดดอกในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และ

ซับพลายเชน. 5(2), 55 - 66.

บัณฑิต พงศาโรจนวิทย์, ดร. ศรันยา เกษมบุญญากร. (2012). การพัฒนาเส้นด้าย และผลิตภัณฑ์จากเส้นใยบัวหลวงเชิง

อุตสาหกรรม.

ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์, ผศ.มาลา ฤทธิ์นิ่ม, สุทธิลา สวนาพร, เฉลียว หมัดอิ้ว, การศึกษาวิธีการแยกเส้นใยจากก้านใบบัวหลวงหลวง สายพันธุ์พระราชินีและความเป็นไปได้ในการนำเส้นใยมาผลิตเป็นเส้นด้าย (สาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2553).