นวัตกรรมสร้างสรรค์สิ่งทอเส้นใยเฮมป์ (Hemp) ด้วยแนวคิด BCG
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าแนวทางการสร้างนวัตกรรมสิ่งทอเส้นใยเฮมป์(Hemp) ด้วยแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green Economy) จากแนวทางการศึกษาสิ่งทอจากเส้นใยเฮมป์(Hemp) ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามองของไทย การพัฒนาการเพาะปลูกเพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรีที่มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นในตลาดระดับโลก ทำให้เฮมป์(Hemp)เป็นเส้นใยที่สามารถนำมาพัฒนาได้หลากหลาย ผู้วิจัยได้ค้นคว้าแนวทางการสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งทอเส้นใยเฮมป์(Hemp) ผสมผสานความรู้ทางภูมิปัญญาของชาวม้งซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกและผลิตเส้นใยเฮมป์(Hemp)100%ของไทย การย้อมสีธรรมชาติจากพืชบนดอยด้วยแนวคิดBCG การทอสิ่งทอด้วยวัสดุพื้นถิ่นในงานหัตถกรรม และได้กำหนดแนวทางการพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งทอจากข้อเสนอแนะในการสัมภาษณ์ความเห็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสิ่งทอ มาทำการวิเคราะห์เพื่อหากระบวนการสร้างสรรค์สิ่งทอเฮมป์(Hemp) ที่มีความน่าสนใจและสามารถตอบโจทย์ในการพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์สิ่งทอเส้นใยเฮมป์(Hemp) ด้วยแนวคิดBCG โดยวิธีการผสมเส้นใยธรรมชาติที่มีกระบวนการผลิตตอบโจทย์ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้ง 3 ชนิดลงบนโครงสร้างสิ่งทอ เพื่อพัฒนาคุณสมบัติสิ่งทอ ได้แก่ การผสมเส้นใยเฮมป์(Hemp) ที่มีคุณสมบัติความคงทน แข็งแรง ต้านรังสี UV และ ต้านแบคทีเรีย ในสัดส่วน 60% ร่วมกับเส้นใยเทนเซล(Tencel) เป็นเส้นใยวิสโคสที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มความเงางาม ให้สัมผัสเย็นสบายในสัดส่วน 20% และนำคุณสมบัติจากเส้นใยนวัตกรรมถนอมผิว เส้นใยฟิลาเจน(Filagen) เป็นเส้นใยวิสโคสเรยอนในรูปแบบนวัตกรรม ที่สกัดคลอลาเจนลงไปในเส้นใย ทำให้มีความนุ่มสบาย ไม่ดูดซับกลิ่น ป้องกันรังสี UV และให้ความชุ่มชื่นต่อผิวในการสวมใส่ ในสัดส่วน 20% การนำเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยนวัตกรรมมาพัฒนาร่วมกับเส้นใยเฮมป์(Hemp) เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์โครงสร้างสิ่งทอจากภูมิปัญญาในรูปแบบหัตถอุตสาหกรรรมที่มีความสวยงามและมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและยังคงปริมาณสัดส่วนของสิ่งทอเฮมป์(Hemp) ในปริมาณที่แตกต่างจากดลาดสิ่งทอทั่วไปที่ใช้เฮมป์(Hemp)เป็นส่วนประกอบแค่ปริมาณน้อย ทำให้เกิดการสร้างสรรค์แนวทางการพัฒนาสิ่งทอเฮมป์(Hemp)ของไทย ที่สามารถพัฒนาต่อยอดและตอบสนองแนวทางยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการวิจัยและนวัตกรรมก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ซึ่งการเพิ่มมูลค่าของเส้นใยเฮมป์(Hemp) นี้เป็นแนวคิด BCG ที่สามารถสร้างความยอมรับและเป็นที่รู้จักในตลาดโลก ทั้งด้านการสร้างอาชีพ การแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างเส้นใยและเทคนิคการผสมผสานเส้นใย เทคนิคการตีเกลียว เทคนิคการทอและเทคนิคการถัก เพื่อให้เกิดโครงสร้างผ้าที่สามารถตอบสนองการใช้งานและความสวยงาม ความคงทนของเส้นใย การสวมใส่ที่นุ่มสบายระบายอากาศได้ดี การใช้สีธรรมชาติในการย้อมเส้นใยเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้สิ่งทอดังกล่าวเพื่อการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าเชิงพาณิชย์ในตลาดสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ที่สามารถเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและการส่งออกในตลาดระดับโลก ทำให้ชื่อเสียงของเส้นใยเฮมป์ (Hemp) ไทยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและสามารถพัฒนาทั้งในด้านสิ่งทออุตสาหกรรมและภูมิปัญญาได้อย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
พัดชา อุทิศวรรณกุล, สิรีรัตน์ จารุจินดา และทีมผู้วิจัย. (2563). โครงการเพิ่มมูลค่านวัตกรรมสิ่งทอในผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากฐาน การผลิตจังหวัดน่านสู่ตลาดเมืองหลวงพระบาง. คณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
มนูญ จิตต์ใจฉ่่า. (2557) .โครงการวิจัย เรื่อง การผลิตเส้นด้ายจากใยกัญชงด้วยระบบการผลิตเส้นด้ายแบบวงแหวน. โครงการวิจัยทุน สนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
วิเชษฐ์ ลีลามนิตย์ และสมยศ ศุภกิจไพบูลย์. รวยด้วยธุรกิจกัญชง. กรุงเทพฯ : สมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย.
วีระชัย ณ นคร. (2564). กัญชง (กัญชา). นนทบุรี : บริษัทธรรมสาร จำกัด.
สถานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพ : บริษัทโคคูน แอนด์โค จำกัด.
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2564). อุตสาหกรรมสิ่งทอกับ BCG ECONOMY. กรุงเทพฯ : โครงการศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะ อุตสาหกรรมแฟชั่น 2564
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2560). ชุมชนเข้มแข้งพึ่งตนเองได้และก้าวหน้าอย่างยั่งยืนด้วยวิจัยและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.