การศึกษาหาความต้องการในการพัฒนาทางด้านร่างกายของกลุ่มเด็กพิเศษ ในศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อการพัฒนา ผลงานประติมากรรมสำหรับบำบัดเด็กพิเศษ

Main Article Content

รองศาสตราจารย์ ดร.ตฤณ กิตติการอำพล

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การศึกษาหาความต้องการในการพัฒนาทางด้านร่างกายของกลุ่มเด็กพิเศษ ในศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อการพัฒนาผลงานประติมากรรมสำหรับบำบัดเด็กพิเศษ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กพิเศษ ในศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดกับเด็กพิเศษ หลังจากใช้ประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีความสามารถในการทรงตัว ความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ พัฒนาระบบประสาทสัมผัสทางกายสูงขึ้น และสร้างแนวทางเลือกของการบำบัด แบบแผนการวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed methods research) แบบ The Exploratory Sequential Design โดยใช้วิธีวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ควบคู่กันไป โดยมีเป้าหมายของกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กพิเศษ ชายและหญิง อายุระหว่าง 4-12 ปี ในศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้ เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ เพื่อสำรวจปัญหาด้านการพัฒนาการด้านกายภาพ ความต้องการพัฒนา ปัญหาด้านกล้ามเนื้อ ด้านการเคลื่อนไหวของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และจะนำผลจากการศึกษาไปสรุปวิเคราะห์


ในการพัฒนาผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 100 คน จากศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดจำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี


ผลวิจัยพบว่า ความต้องการในการพัฒนาการกายภาพของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จากผู้เชี่ยวชาญของศูนย์การศึกษา  พิเศษประจำจังหวัด 8 จังหวัด จังหวัดที่มีความต้องการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ศรีสะเกษ รองลงมา ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด นครศรีธรรมราช รองลงมา ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด สุราษฎร์ธานี รองลงมา ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด มหาสารคาม รองลงมา ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด อุบลราชธานี รองลงมา ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ตรัง รองลงมาได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ตาก และน้อยที่สุด ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด พิษณุโลก

Article Details

บท
ทัศนศิลป์

References

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2543). การวิจัยทางศิลปะ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ตฤณ กิตติการอำพล. (2558). ประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กออทิสติก (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต), สาขาทัศนศิลป์และการ

ออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2549). กิจกรรมบำบัด. สืบค้นจาก http://www.happyhomeclinic.com/occupationaltherapy.htm.

ธนภัทร รุ่งธนาภิรมย์. (2557). ทฤษฎีความงาม. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). สถิติวิทยาทางการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุชาติ เถาทอง. (2553). การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ทัศนศิลป์. ชลบุรี: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ผดุง อารยะวิญญู. (2541). การศึกษาสําหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ:บรรณกิจ.

. (2542). การเรียนร่วมระหว่างเด็กปกติกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรี

นครินทรวิโรฒ.

. (2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รำไทยเพรส.

. (2546). วิธีสอนเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.

(2546) . การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ: รำไทยเพรส.

Ayres, A. J. (1972). Sensory integration and learning disorders. Los Angeles: Western Psychological Services.

_________. (1979). Sensory integration and the child. Los Angeles: Western Psychological Service