การวิเคราะห์องค์ประกอบศิลป์ และการใช้วัสดุเพื่อการเรียนการสอนในสาขาวิชาจิตรกรรม กรณีศึกษา ผลงานศาสตราจารย์เกียรติคุณวิโชค มุกดามณี

Main Article Content

จารุวรรณ เมืองขวา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม เรียบเรียง และศึกษาผลงานสร้างสรรค์ของศาสตราจารย์เกียรติคุณวิโชค มุกดามณี เพื่อนำไปสู่การศึกษาเทคนิคกระบวนการสร้างสรรค์ และเพื่อวิเคราะห์หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์จากผลงานสร้างสรรค์ ผ่านการตีความ โดยมีแนวคิดด้านการจัดองค์ประกอบศิลป์รวมถึงกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นส่วนสำคัญในเชื่อมโยงสุนทรียภาพกับเนื้อหาสาระของผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความหมาย ด้วยวิธีการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ


            ผลจากการวิจัยที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ พบว่า 1). ที่มา แนวความคิด และเนื้อหาที่มาจากเรื่องราวใกล้ตัวได้แก่เรื่องราวในชีวิตประจำวัน ครอบครัว ชุมชน โดยเนื้อหาที่สำคัญที่สุดตลอดการสร้างสรรค์ผลงาน คือสภาพของสิ่งแวดล้อมที่ถูกเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาแทรกทำให้ชีวิต และความเป็นอยู่ของมนุษย์นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 2). กระบวนการสร้างสรรค์ 2.1). ด้านการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุในผลงาน 3 ชิ้น คือ 1). งอกงาม (Growth) ปี พ.ศ.2546 2). สัญญาสิ่งแวดล้อม (Signal in Environment) ปี พ.ศ.2559 3). พักผ่อน (Rest) ปี พ.ศ.2561 จะประกอบไปด้วยรูปร่าง รูปทรงที่มีการดัดแปลงหรือลดทอนให้เข้าสู่สภาวะทางนามธรรม รวมถึงวัสดุสำเร็จรูป และวัสดุเก็บตก ต่างมีการนำมาถอดประกอบให้เหลือเพียงทัศนธาตุสำคัญ  2.2). ด้านเนื้อหา เมื่อวิเคราะห์ผลงานทั้งหมดแล้วศิลปินนำเสนอเรื่องราวที่เรียบง่ายที่แสดงให้เห็นถึงสัจจะของชีวิต และสัจจะของวัสดุที่นำมาใช้สร้างสรรค์ โดยเนื้อหาจะมีการใช้ทัศนธาตุพื้นฐานที่ศิลปินสร้างขึ้นรวมถึงทัศนธาตุที่เกิดมาพร้อมกับวัสดุเก็บตก และวัสดุสำเร็จรูปที่นำมาสร้างสรรค์ผลงาน เป็นการนำเสนอความอุดมสมบูรณ์ และความสวยงามที่เป็นสัจจะธรรมทางธรรมชาติอย่างแท้จริง 2.3). ด้านรูปแบบ ได้สร้างสรรค์ไว้ทุกประเภท ทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อผสม และผลงานศิลปะจัดวาง 3). การวิเคราะห์ และสรุปประมวลผลการศึกษา สรุปได้ว่าการสร้างสรรค์ผลงานมีความเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่ผลงานในชุดแรก ๆ โดยศิลปินได้ทำการศึกษาจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน ทั้งหมดต่างมีจุดร่วมทางทัศนธาตุ รวมถึงการนำวัสดุทางธรรมชาติมาผสมผสานกับวัสดุเก็บตก และวัสดุสำเร็จรูป ซึ่งความเป็นเอกภาพนี้ช่วยสร้างให้ผลงานเป็นที่น่าจดจำ และเรื่องราวที่นำเสนอได้เปลี่ยนแปลงมาตลอดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และแรงบันดาลใจที่เข้ามากระทบในแต่ละช่วงเวลา

Article Details

บท
ทัศนศิลป์

References

กานต์ชลี สุขสำราญ. (2554). จินตนาการจากความต่างของสภาพแวดล้อม. พิษณุโลก: วิทยาลัยช่างศิลปะสุพรรณบุรี สถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2554). ศิลปะสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

วิโชค มุกดามณี. (2563). จิตรกรรมเพื่อรำลึก 111 ปี อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ โดย วิโชค มุกดามณี. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: รุ่ง ศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.

วิโชค มุกดามณี. (2546). สัจจะ..ธรรมชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

วิโชค มุกดามณี. (2536). สัญญาณสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

วิโชค มุกดามณี. (2559). สู่สภาวะใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.

อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์ จิตรกรรมขั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิงชิ่ง จำกัด (มหาชน).