การออกแบบอัตลักษณ์ของวิสาหกิจชุมชนปลาย่างบ้านนาจังหวัดพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาย่างบ้านนา จังหวัดพิจิตร กลุ่มแม่บ้านที่ใช้การถนอมอาหารด้วยการรมควัน
ซึ่งเป็นวิธีการถนอมอาหารแบบพื้นบ้านที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งคนไทยในสมัยก่อนนิยมนำปลามาย่างรมควัน การย่างรมควันจะทำให้เกิดกลิ่น และรสชาติเฉพาะตัวจากการเผาไหม้ ปลาที่ย่างรมควันจะมีสีน้ำตาล เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นหืน ไม่เสียง่าย จากกรรมวิธีการแปรรูปที่เรียบง่าย การทำปลาย่างรมควันจึงเป็นอาหารแปรรูปที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการรวมกลุ่มกัน ซึ่งจากข้อมูลผู้วิจัยจึงได้จัดทำการออกแบบอัตลักษณ์ของวิสาหกิจชุมชนปลาย่างบ้านนาจังหวัดพิจิตร วัตถุประสงค์ คือ เพื่อออกแบบอัตลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ และสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ซึ่งการออกแบบนี้จะสามารถช่วยให้มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน สวยงาม และน่าจดจำ ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มมูลค่าสินค้าให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยการสื่อสารและการนำเสนอ จะใช้ภาพถ่ายในการออกแบบ ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของวิสาหกิจชุมชนปลาย่างบ้านนา รูปแบบที่มีความสอดคล้อง ทั้งความหมาย และสามารถสื่อสารได้อย่างเหมาะสม การใช้สีในการออกแบบนั้นจะสอดคล้องกันไปในงานออกแบบแต่ละชิ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ที่เป็นระบบ ซึ่งในการออกแบบในครั้งนี้ ได้มีแนวคิดที่ว่า “หอมกรุ่น ทั่วคุ้งน้ำ” โดยการออกแบบและจัดทำต้นแบบให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลทั่วไป อายุ 41–50 ปี จำนวน 100 คน ประเมินความพึงพอใจในผลงาน จากหัวข้อทั้ง 4 ด้าน คือ 1.ด้านความคิดสร้างสรรค์ 2. ด้านหน้าที่ ประโยชน์ ความสะดวกในการนำไปใช้ 3. ด้านความเหมาะสม สามารถนำไปผลิตจริงได้ และ 4. ด้านการออกแบบ ความสวยงาม พบว่ารูปแบบของผลงานมีความทันสมัย น่าสนใจ เนื้อหา รวมถึงภาพประกอบที่แสดงภาพลักษณ์ที่สวยงาม ทำให้เกิดการสื่อสารรับรู้ โดยผลประเมินความพึงพอใจรวมอยู่ในระดับที่มาก ได้ผลคะแนนค่าเฉลี่ยที่ 4.40
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
จันทนี ธีรเวชเจริญชัย. (2560). การพัฒนาการถนอมและแปรรูปอาหารสู่ไทยแลนด์ 4.0 วารสารร่มพฤกษ์, 35(1), 55-70.
จันทิมา เพียรผล. (2561). ช่องทางการตลาดปลาสวายย่างรมควัน. กลุ่มเศรษฐกิจการประมง
กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรมประมง
ชมพู่ ยิ้มโต. (2550). การถนอมอาหาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พชรพร วงษ์วาน. (2563). แนวทางการบริหารการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนของจังหวัดเพชรบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 15(1), 100-111.
ภาณุวัฒน กาหลิบ, จันทนา อินสระ, และชนกนาถ มะยูโซะ. (2564). การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑน้ำปลาราปรุงรส ตราปลาราพารวย จังหวัดสระแกว. วารสารศิลปปริทัศน, 9(2), 71-79.
มารุต พิเชษฐวิทย. (2564). การออกแบบสื่อโฆษณาผลิตภัณฑเสริมอาหารสารสกัดจากถั่งเชา คอรดี้ โปร
บริษัท ไทย คอรไดเซปส จํากัด จังหวัดสระแกว. วารสารศิลปปริทัศน, 9(2), 64-70.
วราวุฒิ ครูส่ง. (2545). การถนอมและแปรรูปอาหารด้วยความร้อนใน การถนอมและการแปรรูปอาหาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิภาดา มุนินทร์พมาศ. (2561). หลักการถนอมอาหารและแปรรูปอาหาร (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์
สุกฤตา หิรัณยชวลิต. (2554). กว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ Background of Package. วารสารนักบริหาร, 31(2), 241.
เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือทำวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา
อัครพล ด่านทองหลาง. (31 มีนาคม 2565). สีมีผลต่องานออกแบบอย่างไร.