การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีทางวาทศาสตร์เชิงอุปมาของสำนวนจีน ทางพุทธศาสนากับสำนวนไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
Main Article Content
Abstract
พุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาสู่ประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นแห่งภาคตะวันออก และเริ่มหยั่งรากลึกจนมีอิทธิพลในหลายๆ ด้าน ทั้งในด้านวัฒนธรรม ประเพณี คติ ความคิดความเชื่อ ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ อิทธิพลจากพระพุทธศาสนาเริ่มหลอมรวมเข้ากับสิ่งที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมประจำท้องถิ่นต่างๆ รวมทั้งยังกลายมาเป็นส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อภาษาจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำศัพท์ภาษาจีนที่มาจากคำในพระพุทธศาสนา อันเนื่องมาจากการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาจีน และการรวมคำสันสกฤตกับคำในวัฒนธรรมจีน และนำไปเผยแผ่อย่างกว้างขวางในประเทศจีน ทำให้อิทธิพลของคำศัพท์ทางพุทธศาสนาเริ่มผลักดันให้ก่อเกิดคำที่รวมกันเป็นสำนวนใหม่ๆ จนปรากฏอยู่มากมายในคลังคำทางสำนวนมากว่าสหัสวรรษ สำนวนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในภาษาจีนเทียบเท่ากับวัฒนธรรมหนึ่ง และยังนำสำนวนเหล่านี้ไปใช้ในงานเขียน วรรณกรรม วรรณคดีต่างๆ อย่างแพร่หลาย รวมทั้งใช้ในบทสนทนาในชีวิตประจำวันอีกด้วย
บทความนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบ กลวิธีทางวาทศาสตร์เชิงอุปมาของสำนวนจีนทางพุทธศาสนากับสำนวนไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกัน โดยที่สำนวนไทยไม่ได้เจาะจงเฉพาะสำนวนที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาเท่านั้น แต่หมายรวมถึงสำนวนไทยโดยทั่วไปด้วย
ผลจากการศึกษาพบว่า กลวิธีทางวาทศาสตร์เชิงอุปมาของสำนวนทั้งจีนและไทยนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ รูปแบบการเปรียบ “เหมือน” (zhíyù) รูปแบบการเปรียบ “เป็น” (yǐnyù) และรูปแบบการเปรียบ “แทน” (jièyù) ซึ่งกลวิธีทางวาทศาสตร์ทั้ง 3 แบบนี้ สำนวนจีนทางพุทธศาสนาและสำนวนไทยมีลักษณะที่คล้ายและต่างกัน โดยที่เราสามารถเห็นอิทธิพลของพุทธศาสนาในด้านต่างๆ ได้จากความเปรียบหรือการอุปมาเปรียบเทียบในสำนวนด้วยเช่นกัน
A COMPARATIVE STUDY ON METAPHORICAL TERMS OF BUDDHIST CHINESE IDIOMATIC EXPRESSIONS AND THAI IDIOMATIC EXPRESSIONS WITH SIMILAR MEANINGS
Piriya Surakajohn, Department of Eastern Languages, Faculty of Arts, Chulalongkorn University, Thailand, and Department of Business Chinese, Faculty of Arts, Assumption University, Thailand.
Buddhism was introduced into China in the Dong Han Dynasty and had a great influence on Chinese culture, tradition, thoughts and lifestyle. It has syncretized with the local elements and become an important part of Chinese language, especially Chinese vocabulary. With the wide spread and translation of Buddhism in China, and the combination of Sanskrit and Chinese culture, Buddhism’s influence helps to inspire new Chinese idiomatic expressions which were found in the Chinese word list for over a millennium. These idiomatic expressions play a significant role in Chinese language as well as culture. They have been widely used in various Chinese literary works and conversation for everyday life.
The article aims to do a comparative study of Chinese idiomatic expressions which have been influenced by Buddhism and Thai idiomatic expressions, which related or unrelated to Buddhism, analyzing the ways of comparison on metaphorical terms in Chinese and Thai idiomatic expressions.
The study reveals that there are both differences and similarities in such metaphorical terms in Chinese and Thai idiomatic expressions. The comparison showed that Chinese idiomatic expressions influenced by Buddhism and Thai idiomatic expressions could be divided into 3 distinct categories: “zhíyù” (Simile), “yǐnyù” (Metaphor), and “jièyù” (a kind of Metaphorical concept). Moreover, Buddhist Chinese idiomatic expressions also reflect the influence of Buddhism on various aspects by using the ways of comparison on metaphorical terms.
受佛教影响的汉语成语与泰语成语的比喻方式的对比研究
李秋仪,泰国朱拉隆功大学文学院东方语言系,及泰国易三仓大学文学院商务汉语系
佛教是从东汉时代即传入中国的,并影响到中国文化及社会生活中的各个方面。佛教逐渐与中国固有的文化融合,成为当时的传统文化不可分别的部分。佛教不但深深影响了中国文化,而且也对汉语词汇产生了深远的影响。随着来自古印度梵文或巴利文的佛教典籍大量翻译而广泛使用,佛教中的许多词汇被吸收到汉语的词汇中,逐渐丰富了汉语词汇宝库,产生了大量的新词,其中就有许多成语、俗语或典故。受佛教影响的汉语成语在民俗学的方面上等于一种文化,在文学方面以及日常生活中也被广泛使用。本文即把受佛教影响的汉语成语与泰语成语的比喻方式作比较研究,另外泰语成语不限于受佛教影响的成语,可包括其他东西作比较。通过研究发现受佛教影响的汉语成语与泰语成语的比喻方式可分为三类,即“直喻”、“隐喻”和“借喻”。这三类比喻方式反映出汉泰成语的相似跟不同的比较,在喻体的部分上看得到佛教对于中泰文化各方面的影响。
Article Details
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์