การเลือกสรรของยุคสมัยที่แตกต่างกัน—โดยวิเคราะห์การดัดแปลงบทละครโทรทัศน์หรือบทภาพยนต์จากผลงานคลาสสิกวรรณกรรมสมัยใหม่ของจีน
Main Article Content
Abstract
วรรณกรรมสมัยใหม่ของจีนประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ปรากฏนักเขียนชื่อดังและงานเขียนที่มีชื่อเสียงมากมาย งานวรรณกรรมหลายเรื่องได้รับการขนานนามให้เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกในวงการวรรณกรรมจีน หลังจากยุคก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีงานวรรณกรรมชิ้นเอกหลายเรื่อง ได้ดัดแปลงเป็นบทละครหรือบทภาพยนตร์ และปรากฏสู่สาธารณชนอีกครั้งโดยใช้ศิลปะหรือกลวิธีในการเล่าเรื่องอีกรูปแบบหนึ่ง แต่การดัดแปลงให้เป็นบทละครหรือบทโทรทัศน์นั้นมีลักษณะสลับซับซ้อน ด้วยเหตุที่ว่าวิธีในการเล่าเรื่องทางวรรณศิลป์และทางศิลปะภาพยนตร์หรือการละครนั้นแตกต่างกันมาก นอกจากคุณค่าทางวรรณกรรมแล้ว วรรณกรรมสมัยใหม่ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นวรรณกรรมชิ้นเอก ยังได้รับอิทธิพลจากการแทรกแซงทางการเมือง การปลูกฝังค่านิยมจากชนชั้นนำ และการยอมรับของผู้คนในสังคมอีกด้วย และด้วยยุคสมัยที่ต่างกัน อิทธิพลเหล่านี้จึงได้รับการเสริมสร้างหรือการบั่นทอนเช่นกัน และส่งผลกับการดัดแปลงจากวรรณกรรมมาเป็นบทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์ด้วยเช่นกัน จากการเคารพวรรณกรรมต้นฉบับเป็นหลัก มาเป็นการดัดแปลงโดยแตกต่างจากวรรณกรรมต้นฉบับ จนมาถึงการดัดแปลงเนื้อหาโดยไม่สนใจวรรณกรรมต้นฉบับ ด้วยงานภาพยนตร์หรืองานละครเป็นงานที่รวบรวมศิลปะหลายแขนง และเป็นงานที่มีอิทธิพลมาก การดัดแปลงงานวรรณกรรมให้เป็นบทละครหรือบทภาพยนตร์นั้นย่อมมีอิทธิพลต่อสังคมเป็นวงกว้างเช่นกัน กระทั่งก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์หรือการโต้เถียงกันในสังคม จากประวัติศาสตร์การดัดแปลงงานวรรณกรรมต้นฉบับของวงการภาพยนตร์หรือวงการโทรทัศน์ การดัดแปลงจากงานวรรณกรรมต้นฉบับมาเป็นบทภาพยนตร์หรือบทละครนั้น ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์นั้นจะได้รับการยกย่องว่าเป็นงานชิ้นเอก นอกจากนี้การดัดแปลงงานวรรณกรรมมาเป็นบทภาพยนตร์หรือบทละครโทรทัศน์เริ่มออกห่าง กระทั่งหลีกหนีจากงานวรรณกรรมต้นฉบับ ปรากฏการณ์นี้ก่อให้เกิดความคิดต่าง หรือการตีแผ่เบื้องหลังของความขัดแย้งที่สลับซับซ้อนที่ยังคงดำรงอยู่ระหว่างปัจเจกบุคคลกับสาธารณชน ชนชั้นนำกับประชาชนส่วนใหญ่ ปฏิกิริยาการรับรู้กับแวดวงธุรกิจ โดยสรุปได้ว่ามีเพียงการรักษาความพอดีหรือการรักษาความสมดุลในการดัดแปลงจากงานวรรณกรรมต้นฉบับ เป็นบทภาพยนตร์หรือบทละคร ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น ที่สามารถทำให้งานวรรณกรรมจีนสมัยใหม่ชิ้นเยี่ยมกลับมามีคุณค่าและโลดแล่นมีชีวิตอีกครั้งผ่านศิลปะภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์
The Choice of Times — Film Adaptation of Chinese Modern Literary Classics
In the history of Chinese modern literature there are many masters and extraordinary works. Some of the works have become classics. After the founding of new China, a lot of these classics were adapted for screen. But the situation and process of these adaptations were very complicated. Be-cause literature and visual art are two different forms of art, and under the influence of different eras’ aesthetic taste, the politic winds, culture, mass culture and so on, these movies and TV dramas which were adapted from Chinese modern literature classics, have presented so many difference when compare with these classics, not only the figures and characterization but also narrative plot and environment, these differences caused widespread and long term controversy. Beside literary and artistic value, modern works were made classics by political intervention, elitist and public acceptance. The adaption of these classics also shows the conflicts of these three powers in different times, from selective royalty to the origins to deviate from the origins, and at last deconstruct the origins. As a comprehensive and influential art, films and TV dramas that adapted from classics can even guide social thought and public opinions. In China’s modern adaptation history, adapt a classic work of literature won’t guarantee the movie or TV drama become a classic too, and right now the modern literary classics were alienated. By reflect these adaptations, show us that there are three kind of entanglement: privatization and publicity;the elite culture and mass culture; ideology and commercialization. We should advocate a balance between these three groups of entanglement based on an artistic standard, thus make the adaption more reasonable and valuable.
时代的选择——论中国现代文学经典影视改编
中国现代文学成就非凡,大师涌现,名作纷呈。这一时期许多作品成为中国文学史上的经典名作。而这些经典名作有很多被影视改编,特别是在新中国建立后的当代时期,现代文学史名作通过影视这种艺术方式重新呈现在大众面前。然而他们被影视改编的情况是复杂的,不仅因为文学和影视两种艺术形式之间有差异,而且还受到时代、政治、商业、文化等因素影响,影视呈现与文学母本之间存在着人物形象、叙事情节、环境解读等方面的巨大差异,在社会各界不断地引起广泛而且持久的争议。除了文学艺术价值外,现代文学作品被塑造成经典有政治干预、精英启蒙和大众接受等因素,不同时期这些因素之间力量的此消彼长影响着影视对现代文学经典的呈现,从有选择的忠实到艺术化的游离,再到商业化的解构。作为一种综合性的,影响力巨大的艺术形式,影视对文学经典的改编会产生强烈社会效应,甚至引导社会思想和舆论。在中国当代影视改编史上,影视改编现代经典名著,并不能保证影视也成为经典,且影视开始疏远、逃避现代文学名作。对这一现象进行反思,揭示这背后存在的个人与公共、精英与大众、意识形态与商业之间的复杂纠葛,阐述只有在保证艺术水准的前提下达成一种力量平衡,才能使现代文学史经典名作的不朽价值以影视艺术的形式重新焕发生机。
Article Details
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์