การพรรณนาภาษามาก: ถิ่นย่อยโม่และจามในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

เมชฌ สอดส่องกฤษ

Abstract

“มาก” และ “อายจาม” เป็นชื่อภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื่องจากมีจำนวนประชากรน้อย เพื่อความเหมาะสมในการจัดการปกครอง รัฐบาลจีนจัดให้เป็นสมาชิกของชนกลุ่มน้อยชาวปู้อี เดิมทีเข้าใจกันว่าเป็นภาษาที่แตกต่างกันสองภาษา แต่ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์จีนเห็นว่าภาษาทั้งสองนี้เป็นภาษาเดียวกัน หรือเป็นภาษาถิ่นของกันและกัน และด้วยเหตุที่ภาษามากมีจำนวนผู้พูดมากกว่าจึงใช้ชื่อภาษามากเป็นตัวแทน และจัดไว้เป็นสมาชิกในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาภาษาจ้วง-ต้ง แขนงภาษาต้ง-สุ่ย จากการสำรวจพบว่า วงวิชาการภาษาศาสตร์ของไทยยังไม่มีคำพรรณนาภาษามากและภาษาอายจาม  ที่ผ่านมานักวิชาการชาวไทยมีโอกาสศึกษาข้อมูลจากผลงานของนักภาษาศาสตร์ชาวตะวันตกและจากนักภาษาศาสตร์ชาวไทยบางส่วน  แต่ยังขาดแคลนข้อมูลจากนักภาษาศาสตร์ชาวจีน บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอข้อมูลทางภาษาศาสตร์ของภาษา “มาก”  ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากผลงานของนักวิชาการชาวจีนเป็นหลัก เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับนักวิชาการชาวไทยได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม มีประเด็นสำคัญสองเรื่อง คือ 1. ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ และ 2. การพรรณนาทางภาษาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย (1) การจัดแบ่งตระกูลภาษา (2) ระบบเสียง (3) ระบบคำ (4) ระบบไวยากรณ์ และ (5) ภาษาถิ่น

Article Details

Section
Articles
Author Biography

เมชฌ สอดส่องกฤษ

สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34190