การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่องการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมตามเส้นทางรถม้าสำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้ภาษาจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามเส้นทางรถม้าสำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้ภาษาจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามเส้นทางรถม้าฉบับภาษาจีนในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) และ เพื่อประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ปราชญ์ชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้ให้บริการรถม้านำเที่ยว ผู้ประกอบการ กลุ่มสมาชิกการท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดลำปาง จำนวน 25 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) และนักท่องเที่ยวชาวจีนหรือนักท่องเที่ยวที่สามารถใช้ภาษาจีนได้ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบสะดวก (Convenience Selection) จำนวน 81 คน ใช้แบบประเมินเป็นเครื่องมือวิจัย โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลการประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีผลการศึกษา ดังนี้
ผลการประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) จากนักท่องเที่ยวที่ใช้ภาษาจีน ด้านรูปแบบหนังสือ พบว่า มีคุณภาพระดับดีมากในประเด็น การออกแบบสอดคล้องกับสถานที่จริง (ค่าเฉลี่ย=4.62) ขนาดของภาพชัดเจนมีความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย=4.61) มีสีสัน สวยงาม ชวนให้อ่าน (ค่าเฉลี่ย=4.60) ความชัดเจนของอักขระ ตัวอักษร สวยงาม อ่านง่าย (ค่าเฉลี่ย=4.58) และมีความทันสมัยเหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่นำเสนอ (ค่าเฉลี่ย=4.58) ด้านภาษาหนังสือ พบว่า มีคุณภาพระดับดีมากในประเด็น ภาษาและภาพมีความสอดคล้องกัน (ค่าเฉลี่ย=4.64) และเนื้อหากระชับ ไม่ซับซ้อน (ค่าเฉลี่ย=4.55) ด้านการใช้งานหนังสือ พบว่า มีคุณภาพระดับดีมากในประเด็น นำไปเผยแพร่ อ้างอิงต่อได้ (ค่าเฉลี่ย=4.70) และนำไปใช้ท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง (ค่าเฉลี่ย=4.58) ส่วนด้านสื่อภาษาจีน พบว่า มีคุณภาพระดับดีมากในประเด็น สื่อท่องเที่ยวภาษาจีนทำให้ท่องเที่ยวด้วยตนเองได้ (ค่าเฉลี่ย=4.55) และสื่อท่องเที่ยวภาษาจีนทำให้มีนักท่องเที่ยวมากขึ้น (ค่าเฉลี่ย=4.53)
Article Details
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สรุปรายได้และค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวจาก นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2562 สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_ news_new.php?cid=615.
ทัวร์กับสกว.จากเชียงใหม่ไปเที่ยวเมืองรองลำพูน-ลำปาง. (ม.ป.ป.) สืบค้นจาก http://www.blogger travelista.com/blogs/41.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
พลูสุข ปริวัตรวรุฒิ. (2555). ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-books. สืบค้นจาก http://203.131. 219.167/km2559/2015/04/17/ประเภทของหนังสืออิเล็ก/.
พัดชา อินทรรัศมี. (2555). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง การใช้ห้องสมุดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิมพันธุ์ เวสสะโกศล. (2555). การแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.