การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณี อนันตราหัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • เกตุอัมพร ไชยนาพงษ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, ด้านสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน, ด้านลักษณะงาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมอนันตรา หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัด
ประจวบคิรีขันธ์ และ(2) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมอนันตรา หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยบุคคล ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามไปยังพนักงานที่กำลังทำงานใน ปัจจุบันของอนันตรา หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา จำนวน 200 คน เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนและสมบูรณ์ของข้อมูลพบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 200 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) พบว่า (1) พนักงานโรงแรมอนันตรา หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พนักงานโรงแรมอนันตรา หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดประจวบคิรีขันธ์
มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน ด้านลักษณะงาน ด้านเพื่อนร่วมงาน ด้านรายได้และผลตอบแทน ด้านการควบคุมบังคับบัญชา และ ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน ตามลำดับ (2) พนักงานโรงแรมอนันตรา หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ที่มีเพศ อายุ  ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ตำแหน่งงาน และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านรายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน

References

กันตยา เพิ่มผล. (2541). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทํางาน (Efficiency development (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริการและวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เบญจพร ถีระรัตน์. (2547). ความพึงพอใจในงาน ลักษณะความเป็นผู้นำของหัวหน้างานและความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานในระดับปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตวงจารแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญผล.
เรียม ศรีทอง. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชัน.
รพีพรรณ สุพรรณพัฒน์. (2555). ศึกษาความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานโรงแรมโซฟิเทล เซนทารา แกรนด์ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แววนภา พันเรือง. (2553). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมในอำเภอเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคนอื่น ๆ. (2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพณ: เพชรจรัสแสงแห่งโลก.
ศุลีพร จิตต์เที่ยง. (2553). ความพึงพอใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเกริก.
สมยศ นาวีการ. (2538). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2545). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุเทพ พานิชพันธ์. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท มิคุนิ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยพระนครศรีอยุธยา.
สุรัสวดี ราชกุลชัย. (2543). การวางแผนและการควบคุมาทงการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุกูล เยี่ยงพฤกษาวัลย์. (2535). พัฒนาบุคคลเพื่อประสิทธิผลของงาน. กรุงเทพฯ: สายใจ.
อิศเรศร์ ไชยะ. (2553). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบันการพลศึกษา กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-27