การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเตรียมความพร้อมในการเป็นประชาคมอาเซียนของผู้ประกอบการและพนักงานของธุรกิจตัวแทนรับจัดการขนสินค้า
คำสำคัญ:
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, ธุรกิจตัวแทนรับจัดการขนสินค้า, ผู้ประกอบการบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเตรียมความพร้อมในการเป็นประชาคมอาเซียนของผู้ประกอบการและพนักงานของธุรกิจตัวแทนรับจัดการขนสินค้า และเพื่อศึกษาผลกระทบจากการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทั้งในด้านบวกและด้านลบของผู้ประกอบการและพนักงานของธุรกิจตัวแทนรับจัดการขนสินค้า โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการ จำนวน 5 บริษัท และตัวแทนพนักงานจำนวน 5 บริษัท ๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน ซึ่งเป็นผู้รับจัดการขนส่งสินค้า โดยใช้รายชื่อสมาชิกของสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้า การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้ใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างมโนทัศน์เชิงทฤษฎี (Theoretical Coding) ในรูปของข้อเสนอที่เป็นข้อสรุปเชิงทฤษฎี (Proposition) ผลการศึกษาพบว่า (ก) การเตรียมความพร้อมในการเป็น AEC โดย (1) SMEs และภาคแรงงานในธุรกิจระดับนี้ ควรเร่งพัฒนาเครือข่ายด้วยการจับมือสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นการร่วมมือกับผู้ประกอบการไทยด้วยกันหรือร่วมกับผู้ประกอบการในประเทศต่างๆ ในอาเซียน หรือหากมีความสามารถเพียงพอก็ย่อมเป็นโอกาสจากเงื่อนไขที่เอื้อให้เกิดการลงทุนธุรกิจ การเคลื่อนย้ายสินค้าและเคลื่อนย้ายแรงงานแบบข้ามพรมแดนได้สะดวกมากขึ้น (2) การสนับสนุนบุคลากรในบริษัทที่เป็นสมาชิกของสมาคมด้วยการจัดหลักสูตรอบรมด้านภาษาอังกฤษรวมถึงการให้ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการขนส่งมากขึ้นโดยร่วมกับสถาบันการศึกษาที่เป็นพันธมิตรเพื่อเป้าหมายในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพในอนาคต (3) ผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการดำเนินธุรกิจ โดยหากมีศักยภาพก็อาจเพิ่มการให้บริการแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ หรืออาจรวมตัวกันให้บริการภายใต้ความถนัดที่หลากหลาย (4) การส่งเสริมและผลักดันให้สมาชิก โดยเฉพาะรายเล็กๆ ได้เล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อร่วมกันหาทางป้องกัน เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการให้บริการที่พึงพอใจกับลูกค้า ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องทำไปพร้อมๆ กัน และ (5) การประสานกับภาครัฐซึ่งสนับสนุนเงินทุนผ่านกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคการผลิตหรือบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้จัดสรรเงินจากกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแผนงานด้านการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย และ (ข) ผลกระทบจากการเป็น AEC คือ (1) เงื่อนไขการเปิดเสรีภายใต้การสนับสนุนให้ทุนต่างชาติในอาเซียนเข้ามาลงทุนในประเทศต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนการถือหุ้นร่วมทุนจากเดิมคือ ชาวต่างชาติถือหุ้นได้สูงสุดที่ 49% ขยายมาเป็น 70%ก็อาจเสี่ยงต่อการที่ผู้ประกอบการของไทยทั้งที่มีอยู่เดิม และรายใหม่ๆ อาจเติบโตได้ยาก หรือถูกครอบงำ และเข้าครอบครองกิจการโดยทุนต่างชาติที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งกว่า (2) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพชาวอาเซียนที่จะกระทำได้โดยเสรีมากขึ้น อาจจะส่งผลต่อระบบการจ้างงานของอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทยไปด้วย และ (3) แม้การเปิดเสรีธุรกิจด้านการให้บริการโลจิสติกส์มากขึ้นอาจส่งผลดีต่อผู้ใช้บริการจากมีการแข่งขันในฟากของผู้ให้บริการที่สูงขึ้น แต่ในระยะยาวแล้วการแข่งขันดังกล่าวอาจลดลงโดยเหลือเพียงผู้ให้บริการขนาดใหญ่จำนวนน้อยรายที่เป็นทุนต่างชาติซึ่งหากเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้นก็อาจทำให้อำนาจต่อรองของผู้ใช้บริการค่อยๆ ลดลง
References
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, สำนักเจรจาการค้าบริการและการลงทุน. 2551. ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA). ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, http://www.thaifta.com/thaifta/Home/tabid/36/ctl/ Details/mid/582/ItemID/4602/Default.aspx, ค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2555.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, ม.ป.ป. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, pcoc.moc.go.th/wappPCOC/93/upload/File_IPD_FILE9382171.doc, ค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, ม.ป.ป. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, pcoc.moc.go.th/wappPCOC/93/upload/File_IPD_FILE9382171.doc, ค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, ม.ป.ป. สถานะการเจรจา. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, http:// www.thaifta.com/thaifta/Home/ NegoLastestStatus/tabid/117/Default.aspx, ค้นเมื่อ 4 เมษายน 2555.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, สานักเอเชีย. 2548. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, http://www.61.19.225.12:8810/dms/upload/dms/ 118127002234/ASEAN-Integration15May.pp#256,1, ค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2555.
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์, สานักเจรจาการค้าทวิภาคี. 2545. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, http://www.moc.go.th/thai/dbe/bilatetal/ speech/grp-ecp.htm, ค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555.
กรมส่งเสริมการส่งออก, สำนักงานพัฒนาการตลาดระหว่างประเทศ. 2554. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, http://www.depthai.go.th/Default.aspx?tabid= 477 & qCategoryID=236&qKeyword=0, ค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2555.
กรมอาเซียน, กองอาเซียน 3. 2546. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, http://www.mfa.go.th/asean/asean_web/docs/asean_ecomy.doc, ค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2555.
กรมอาเซียน, กองอาเซียน. 2548. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, http://www.mfa.go.th/internet/document/740.do, ค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2555.
กระทรวงการต่างประเทศ. 2547. เขตการค้าเสรีอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, http://www.mfa.go.th/internet/information/21826.pdf, ค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2555.
กระทรวงการต่างประเทศ, กรมอาเซียน. กลุ่มงานนโยบาย. 2550. ประชาคมอาเซียน กฏบัตรอาเซียน Frequently Asked Questions. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, http://thaiblogonline.com/onumaonwan.blog?PostID=40353, ค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2555
กระทรวงอุตสาหกรรม, กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเมืองแร่. 2554. การกำหนดทิศทางการพัฒนาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเปิดเสรี AEC 2559. รายงานการประชุมระดมคิดเห็น. ห้องประชุมชั้น 1 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, 17 มีนาคม 2555.
กระทรวงอุตสาหกรรม, กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเมืองแร่. 2554. การพัฒนาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเปิดเสรี AEC 2558. เอกสารประกอบการประชุม. ห้องประชุมชั้น 1 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, 17 มีนาคม 2555.
ขวัญใจ อรุณสมิทธิ และคณะ. 2545. โครงการอาฟต้ากับการเป็นเขตการค้าเสรีอย่างแท้จริง. กรุงเทพมหานคร: คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. 2549. การศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าบริการ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กระทรวงพาณิชย์.
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์, พิทักษ์พงศ์ ฉลวยศรี และสมบูรณ์ หวังวณิชพันธุ์. 2551. การศึกษาความพร้อมและการปรับตัวของสาขาบริการโลจิสติกส์ของไทยต่อการเปิดเสรีการค้าบริการ. ชลบุรี: โรงพิมพ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2550. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีของธนาคารแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ธิดารัตน์ โชคสุชาติ. 2553. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย. วารสาร มฉก. วิชาการ 14, 27 (กรกฎาคม-ธันวาคม):99-112.
พรทิวา นาคาศัย. 2553. อาเซียนตลาดเดียว โอกาสการค้า-การลงทุน ธุรกิจไทย. โรงแรมสวิสโซเทล เลอคองคอร์ด รัชดา, 11 มีนาคม 2555.
ศรีรัตน์ รัษฐปานะ. 2554. การเตรียมความพร้อมของไทยสู่การเป็น AEC. เอกสารประกอบการบรรยาย ของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 28 มีนาคม 2555.
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 2552. ก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, http://dataverse.dvn.utcc.ac.th/dvn/dv/CITS, ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2555.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. 2549. รายงานฉบับสมบูรณ์ ประสบการณ์ของการเปิดเสรีทางการค้าในต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ. 2554. เกี่ยวกับอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต, http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?option =com_content&view=article&id=192&Itemid=148, สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2555.
WTO. 2006a. Guidelines and Procedures for the Negotiations on Trade in Services. Geneva: World Trade Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว