โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแนวคิดทฤษฎีการเกิดวินัยในตนเอง
คำสำคัญ:
วินัยในตนเอง, การทดสอบทฤษฎี, โมเดลความสัมพันธ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแนวคิดทฤษฎีการเกิดวินัยในตนเอง ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างวินัยในตนเองของนักเรียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายนอกบุคคลมีอิทธิพลทางตรงต่อวินัยในตนเองและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อวินัยในตนเองโดยผ่านปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยชีวสังคมมีอิทธิพลทางตรงต่อวินัยในตนเอง และมีอิทธิพลทางตรงต่อวินัยในตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกปัจจัย ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าทฤษฎีการเกิดวินัยในตนเองทั้งสามทฤษฎีมีความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของตัวแบบ ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับสูง
References
คงสิฐ อาจวิจัย. (2552). การดำเนินงานเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบของนักเรียน โรงเรียนนวมินทราชูทิศอีสาน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ (กศ.ม. การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จงกรณ์ ชมพูวงศ์. (2552). การดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนบ้านกอกดอนพยอม จังหวัดบุรีรัมย์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จเร แก้วช่วย. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนคูเมืองวิทยา อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จุฑาเทพย์ จิตคติ. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนด้านการตรงต่อเวลาโรงเรียนวัดบ้านปะเคียบ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชาย โพสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ สถาบันประชากรและสังคม. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
ไชยยงค์ วรนาม. (2549). พัฒนาการการควบคุมตนเองของนักเรียนช่วงชั้นที่สามที่มีมโนภาพแห่งคนต่างระดับกัน ในเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวัดผลทางการศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนาพร ศรีโสภณ. (2553). การศึกษาพฤติกรรมความมีวินัยของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลางจากการฝึกของผู้ปกครองที่ได้รับการฝึกโดยชุดฝึกอบรมพัฒนาพฤติกรรมความมีวินัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ), มหาวิทยาลัยศรีนคริน- ทรวิโรฒ.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). “ความสัมพันธ์ระหว่างสถิติกับการวิจัย”. สักทอง: วารสารการวิจัย, 15(1/2552, มกราคม-มิถุนายน): 1-13.
ปอแก้ว ศิริจันทร์. (2546). ผลของการฝึกมุ่งอนาคตและควบคุมตนเองที่มีต่อลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตนเองและทัศนคติในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการพัฒนา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปุณยนุช วรรณโกวิท. (2551). การพัฒนาการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างวินัยด้านการแต่งกายโรงเรียนเทศบาลพลประชานุกูล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
แสงทิพ อัศววิริยะกิจ. (2547). พฤติกรรมการคุกคามทางเพศผู้อื่นของนักเรียนชานที่ได้รับสื่อที่แฝงการแสดงออกทางเพศและมีจิตลักษณะควบคุมตนเองแตกต่างกัน: กรณีศึกษาของนักเรียนชายโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อดิเรก เวียงสิงห์กอ. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเสียว อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. ปริญญานิพนธ์การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรุณี อ่อนสวัสดิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Ausubel, D. P. (1968). Educational psychology: A cognitive view. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Conklin, John E. (1987). Sociology: An Introduction (2nd ed.). New York: Macmillan.
Hurlock, Elizabeth B. (1984). Child Development. New York: McGraw-Hill.
Mowrer, Orval H. (1960). Learning Theory and Behavior. New York: Wiley.
Mussen, P. H., John, J. Conger, & Jer Kagan. (1969). Child Development and Personality (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Peak & Havighurst, R. J. (1972). Developmental Task and Education (3rd ed.). New York: Longman.
Turnbull. (2005). Home School Relations (2nd ed.). Boston: Allyn & Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว