การพัฒนารูปแบบการองค์การที่มีสมรรถนะการทำงานสูงเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • วาณิชา โกวิทานนท์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบองค์การ, สมรรถนะการทำงาน, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสามารถ กับพัฒนารูปแบบองค์การที่มีสมรรถนะการทำงานสูงเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากร ที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 166 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) บุคลากรเห็นว่าปัจจัยแห่งความสามารถมีผลต่อการพัฒนารูปแบบองค์การที่มีสมรรถนะการทำงานสูงเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลต่อการพัฒนารูปแบบองค์การฯ อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ดังนี้ ด้านการวัดการวิเคราะห์การจัดการความรู้ ด้านมุ่งเน้นทรัพยากรมนุษย์ และด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่า มีผลต่อการพัฒนารูปแบบองค์การฯ อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ดังนี้ ด้านการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสีย ด้านกระบวนการจัดการ และด้านการนำองค์การ ตามลำดับ (2) ปัจจัยแห่งความสามารถ โดยรวม และรายด้านได้แก่ ด้านการนำองค์การ ด้านการวัดการวิเคราะห์การจัดการความรู้ ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ และด้านมุ่งเน้นทรัพยากรมนุษย์ มีความสัมพันธ์กับการพัฒนารูปแบบองค์การที่มีสมรรถนะการทำงานสูงเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนด้านกระบวนการจัดการ มีความสัมพันธ์ในระดับสูง และเป็นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนด้านการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสีย ไม่มีความสัมพันธ์

References

ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์. (2546). การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศ ของบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ: แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2551). การวิเคราะห์ความเข้มแข็งทางการคลังของเทศบาล: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวลักษณ์ สุขวิรัช. (2014). “ทางสองแพร่งของจริยธรรมการบริหาร (The Dilemma of Administrative Zeitgeists),” การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสน์ศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2549) [Online], Accessed 15 December 2014. Available from http://humannet.chandra.ac.th/pa/morals_politic/2way.doc
เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา. (2551). องค์การที่เป็นทางการ: กรณีผู้ว่า CEO. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Abercrombie, N., Hill, S., & Turner, B. (2000). The Penguin Dictionary of Sociology (4th ed.). London: Penguin.
Andre’de Waal. (2557). High Performance Organization Framework. New York: McGraw Hill.
Chistopher Hood. (1991). “A Public Management for all seasons,” Public Administration, 65(1991): pp. 3-15.
Chistopher Politt. (1990). Managerialism and the Public Services: The Anglo American Experience. Oxford: Masil Blackwell.
David Osbome and Ted Gaebler. (1992). Reinventing Government: How the Entrepreneurial Spirit is Transforming the Public Sector. Reading MA: Addision-Wesley.
Douglas C. Engelbart. (1995). Toward High-Performance Organizations: A Strategic Role for Groupware. New York: Macmillan.
Frank Buytendijk. (2006). The five Keys to Building A High-Performance Organization [Online], Accessed 11 March 2009. Available from http://www.businssandfinancedirectory.com/
Gerth, H.H. and Mills, C. (1961). From Max Weber: Essays in sociology. London: Routledge & Kegan Paul.
Hague, R. and M. Harrop. (2004). Comparative Government and Politics: An Introduction (6th ed.). Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Jamie Peck, and Adam Tickell. (2002). “Neoliberal zing Space,” Antipode: A Radical Journal of Geography, 34(3): p. 13.
Lawler, Edward E. (2005). Satisfaction and Behavior in Perspectives on Behavior in Organization (2nd ed.). New York: McGraw-Hall Book Company.
Zhiyoung Land and David H. Rosenbloom. (1971). “Editorial,” Public Administration Review, 52(1971): p. 6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-11-26