ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของอาจารย์ประจำตามสัญญาจ้าง มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • รสสุคนธ์ ศุนาลัย นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ความผูกพัน, ความคาดหวัง, ผลประโยชน์, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของอาจารย์ตามสัญญาจ้างในมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคืออาจารย์ประจำตามสัญญาจ้างในมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร 6 แห่งจำนวน 362 คนโดยใช้เครื่องมือคือแบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานและทดสอบความกลมกลืนของโมเดลด้วยโปรแกรม PLS ผลการวิจัยพบว่าอาจารย์ประจำตามสัญญจ้าง มีความผูกพัน ความคาดหวัง ผลประโยชน์ ความพึงพอใจ และสมรรถนะอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า สมรรถนะกับความพึงพอใจในงาน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รองลงมา ได้แก่ ความพึงพอใจในงานกับผลประโยชน์ที่ได้รับ และความพึงพอใจในงานกับความผูกพัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับผลการทดสอบปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะ พบว่า ความผูกพัน ความคาดหวัง ผลประโยชน์ ความพึงพอใจ มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของบุคลากร นอกจากนั้นแล้วยังพบว่า ความคาดหวังในงาน และผลประโยชน์ที่ได้รับ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงาน และความคาดหวังในงานมีอิทธิพลต่อผลประโยชน์ที่ได้รับ รวมถึงความผูกพัน มีอิทธิพลต่อความคาดหวังในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงการคลัง. (2548). กฎระเบียบการปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กระทรวงการคลัง.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2543). การประเมินบุคคล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
พนัส หันนาคินทร์. (2542). การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคคล. ชลบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยพรานนกการพิมพ์.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2550). วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 19 ฉบับ 1 ม.ค.-เม.ย. 2552.
วิจิตร อาวะกุล. (2537). การฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2550). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: เอช.เอ็น.กรุ๊ป.
สมพงศ์ เกษมสิน. (2530). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2547). การบริหารนวัตกรรมแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2547). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยปัญหาปัจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.
Bandura, A. (2001). Social cognitive theory: An agentic perspective. Annual Review of Psychology, 52: 1-26.
Buchanan, K. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers in work organizations. Administrative Science Quarterly Journal, 19: 533-546.
Chin, W. W. (2001). Structural equation modeling analysis with small samples using partial least squares. In R. Hoyle (Ed.), Strategies for small sample research. (pp. 307-341). Hoyle R. (Ed.). London: Sage Publications.
Davis, K. (1957). Human relations in business. New York: McGraw-Hill.
Fombrun, C. J. (1989). Strategic human resource management. New York: Wiley.
Guest, D. (2004). Power, innovation and problem-solving: the personnel managers’ three steps to heaven? Journal of Management Studies, 41: 401-24.
Hersey, P., & Blanchard, K. H. (1997). Situational leadership resource guide. San Diego, CA: University Associates.
Kanter, R. M. (1979). Power failure in management circuits. Harvard Business Review, 57(4): 65-75.
Kay, R. (1999). Coastal planning and management. London: EF & N Spoon.
March, R. M., & Manari, J. (1977). Organization Commitment and Yummier: A production study. Administrative Science Quarterly, 22(1): 51-57.
Mondy, R. W. (1999). Human resource management. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Salancik, G. R. (1983). Commitment and the control of organizational behavior and belief. In B. M. Staw (Ed.). Psychological Foundations of Organizational Behavior (2ne ed.,: 202-207). New York: Harper & Row.
Sarbin, T. (1970). Toward a theory of imagination. Journal of Personality, 35: 359-380.
Siqler, K. (1971, July/August). Pay and company performance in the pharmaceutical Industry, Required minimum distributions and the 50 percent penalty. Journal of Compensation and Benefits, 23(4): 13-15.
Suchman, T. (1995). Plan and Situated Actions. New York: Cambridge University Press.
Steers, R. M. (1977). Organizational effectiveness: A behavioral view. Santa Monica, CA: Goodyear.
Storey, J. (1992). Developments in the management of human resource management. Oxford: Blackwell.
Taylor, F. (1999). Principles of scientific management. New York: Harper.
Vroom, V. H. (1964). Work and Motivation. New York: Wiley.
Vroom, V. H. (1990). Work and motivation. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-05-10