ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว เซ็นทาราแกรนด์ และ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, พฤติกรรมใช้บริการ, โรงแรมระดับ 5 ดาวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ประชากร คือ ผู้ใช้บริการที่มาใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว เซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นเวลาอย่างน้อย 1 คืน จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เข้าพักในแต่ละครั้ง 1 คืน ตัดสินใจในการเลือกที่พักด้วยตัวเอง จองห้องพักทางโทรศัพท์ ใช้บริการห้องพักแบบ Executive Suite ใช้บริการห้องพักในอัตรา 5,001-8,000 บาท และเข้าพักโรงแรมนี้เนื่องจากมีสถานที่สะอาด ตกแต่งสวยงาม (2) ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว เซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว เซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 7 ด้าน ดังนี้ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านกระบวนการ ด้านบุคคล ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ (3) ผู้ใช้บริการที่มีเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว เซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ไม่แตกต่างกัน (4) ผู้ใช้บริการที่มีพฤติกรรมการใช้บริการต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว เซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ไม่แตกต่างกัน
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2557). รายงานประจำปี 2557. กรุงเทพฯ: มปท.
กฤษณีย์ สิทธิพศ์วรกุล. (2554). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียที่มีต่อการให้บริการในด้านห้องพักของโรงแรมระดับ 4 ดาว ในเขตพัทยาเหนือ จังหวัดชลบุรี กรณีศึกษา โรงแรมลองบีช การ์เด้น โฮเต็ล แอนด์ สปา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. (2540). การบริการเพื่อความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง.
ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2552). การตลาดบริการ: แนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล ผู้อุตส่าห์. (2548). ความพึงพอใจในงานของพนักงานการตลาด บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมาหบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปัทมนันท์ นิทัศน์สันติกุล. (2553). ความต้องการใช้บริการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ของผู้จัดงานแสดงสินค้า. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิลาสินี นิยมไทย. (2557). ความพึงพอใจในการใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวในพัทยา. วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์, และองอาจ ปทะวานิช. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีรฟิล์มและไซแทกซ์.
ศุภร เสรีรัตน์. (2540). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
สมชาติ กิจยรรยง. (2536). สรางบริการสรางความประทับใจ. กรุงเทพฯ: เอช-เอน การพิมพ์.
สาโรช ไสยสมบัติ. (2534). ความพึงพอใจในการทํางานของครูอาจารยโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด กรมสามัญศึกษาจังหวัดรอยเอ็ด. วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). การตลาดจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัฒนา อิศวภา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานต่อโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพ. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพจน์ ประกิจจานุรักษ์. (2554). การบริหารจัดการที่มีผลต่อพฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2545). พฤติกรรมผู้โภค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัมพวัลณ์ อยู่จุ้ย และนิตยา ทวีชีพ. (2551). ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการที่มีต่อการบริการของโรงแรมสวนดุสิต เพลส มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. สำนักกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Borden, C. (1964). Contemporary business (10th ed.). Fort Worth: Harcourt Bovee.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Vroom, V. H. (1953). Work and Motivation. Florid: Robert E. Krieqer.
Wallerstein, H. A. (1971). Dictionary of Psychology. Mary land: penguin Book.
Wolman, B. B. (1978). Dictionary of behavioral science. Boston, MA.:PWS-Kent.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว