ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หัวหิน ซาฟารี แอนด์ แอทเวนเจอร์ พาร์ค จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • แวณรัฐ เทพวัลย์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

นักท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, หัวหิน ซาฟารี แอนด์ แอทเวนเจอร์ พาร์ค

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หัวหิน ซาฟารี แอนด์ แอทเวนเจอร์ พาร์ค จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หัวหิน ซาฟารี แอนด์ แอทเวนเจอร์ พาร์ค จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยบุคคล และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอในการจัดการท่องเที่ยว จะได้นำข้อมูลมาปรับปรุงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหัวหิน ซาฟารี แอนด์ แอทเวนเจอร์ พาร์ค จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามไปยังนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมหัวหิน ซาฟารี แอนด์ แอทเวนเจอร์ พาร์ค จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 353 คน เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนและสมบูรณ์ของข้อมูลพบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 353 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 36-45 ปี มีสถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกัน มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบธุรกิจส่วนตัว และมีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท (2) นักท่องเที่ยว มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหัวหิน ซาฟารี แอนด์ แอทเวนเจอร์ พาร์ค จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้านการคมนาคม อยู่ในระดับมาก ส่วนในภาพรวม และรายด้านได้แก่ ด้านด้านกิจกรรม ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านที่พัก และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ และ (3) นักท่องเที่ยวที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหัวหิน ซาฟารี แอนด์ แอทเวนเจอร์ พาร์ค จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านเพศ และด้านอาชีพ ไม่แตกต่าง

References

กัลยา สมมาตย์. (2541). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลในจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ตุ้ย ชุมสาย. (2518). หลักวิชาการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.
ธรรมศักดิ์ โรจนสุนทร. (2542). สรุปผลการสัมมนาการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
นาตยา ธนพลเกียรติ. (2547). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมในอำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาภูมิศาสตร์การวางแผนการตั้งถิ่นฐานมนุษย์), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ วิทยารัฐ. (2530). รายงานสัมมนาทางวิชาการเรื่องบทบาทของภูมิศาสตรกับการพัฒนาการทองเที่ยว. กาญจนบุรี: สมาคมภูมิศาสตรแหงประเทศไทยรวมกับวิทยาลัย
ปรีชา แดงโรจน์. (2544). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่ศตวรรณที่ 21. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
ยุทธ ไกรวรรณ์. (2550). วิเคราะห์ข้อมูลวิจัย 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
วีระพล ทองมา. (2548). ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่แรม อำเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เศกสรรค์ ยงวณิชย์. (2536). เอกสารประกอบการสอนวิชา ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมเกียรติ ชัยพิบูลย์. (2550). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. งานวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
เอกสิทธิ์ สุดแก้ว. (2549). การประเมินศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวและการจัดการของชุมชนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (อุทยานและนันทนาการ), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อุไรพรรณ ปรางอุดมทรัพย์. (2544). ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ : กรณีศึกษาชุมชนบ้านทุ่งสูง จังหวัดกระบี่. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-05-10