ความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ต่อการพัฒนาบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ปุณณดา อาดัม นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

กระบวนการดำเนินการ, การรับรู้สิทธิและหน้าที่, นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ต่อการพัฒนาบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง และพนักงานส่วนตำบล จำนวน 188 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ด้านภาพรวม พบว่า ระดับปัจจัยที่ส่งผลภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการรับรู้สิทธิและหน้าที่ ของผู้รับบริการต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รองลงมาคือ ด้านปัจจัยการดำเนินงาน และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือด้านทัศนคติของผู้รับบริการต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (2) ความสำเร็จในการดำเนินการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ด้านภาพรวม พบว่า ระดับความสำเร็จภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านพฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี รองลงมาคือ ด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการในการดำเนินการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสำเร็จและระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสำเร็จในการดำเนินการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ผลการวิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ในทุกด้าน คือ ด้านปัจจัยการดำเนินงาน ด้านกระบวนการดำเนินการ ด้านการรับรู้สิทธิและหน้าที่ ของผู้รับบริการต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และด้านทัศนคติของผู้รับบริการต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการในการดำเนินการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีและด้านพฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีความสัมพันธ์กันในทางบวก จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

References

ชูศักดิ์ เจ๊ะยะหลี. (2550). ความคิดเห็นของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรขององค์กร: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล 7 แห่ง ในอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฐสุชัญญา ครุธา. (2548). กระบวนการพัฒนาบุคลากรของบริษัทไทยวิศวการแกรนิต จำกัด. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์ พริ้นท์.
นภัสสร แนววงศ์. (2542). ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาบุคลากร และความสำเร็จขององค์การในภาครัฐ: ศึกษาเฉพาะกรณีของสำนักงบประมาณ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประกายรัตน์ สุวรรณ. (2549). คู่มือการใช้โปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 12 สำหรับ Windows. กรุงเทพฯ: เอช.เอ็น. กรุ๊ป.
พัชรี ราวีศรี. (2544). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการสาย ข มหาวิทยาลัยบูรพา. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2536). การบริหารงานบุคคล. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัตนา เนื่องแก้ว. (2547). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของสายสนับสนุนวิชาการของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชชุดา หุ่นวิไล. (2542). การบริหารบุคคลทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราวิชาการราชภัฎเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วิโรจน์ นาคก้อน. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนบรรยากาศองค์การกับกระบวนการพัฒนาบุคลากร ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ศิลปานันต์ ลำกูล. (2550). การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการพัฒนาในกองพลพัฒนาที่ 3. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2528). สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน ครบรอบ 5 ปี. กรุงเทพฯ : เรืองแสงการพิมพ์.
สมเกียรติ พ่วงรอด. (2544). การบริหารงานบุคคล. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมจิตต์ จรกา. (2548). การศึกษาความต้องการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการสำนักงบประมาณ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมชาย โอนอ่อน. (2547). แนวทางการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดงานเทศบาลนครนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สมหมาย มัณยานนท์. (2546). สภาพและปัญหาการพัฒนาครูของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมเดช สีแสง. (2543). คู่มือบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2540). วิจัยทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
สุขสันต์ สุวรรณเจริญ. (2545). สภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรม
อภินันท์ จันตะนี. (2550). สถิติธุรกิจ. คณะกรรมการบริหารหลักสูตร MBA. ฝ่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-05-10