อิทธิพลการค้าชายแดน ความกลมกลืนทางวัฒนธรรม และนโยบายภาครัฐ (ด้านการส่งเสริม การค้าชายแดน และวัฒนธรรม) ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนชายแดน

ผู้แต่ง

  • ชีวิต สารพัตร นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การค้าชายแดน, ความกลมกลืนทางวัฒนธรรม, นโยบายภาครัฐ, วิถีชีวิตของประชาชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอิทธิพลการค้าชายแดน ความกลมกลืนทางวัฒนธรรม และนโยบายภาครัฐ (ด้านการส่งเสริมการค้าชายแดน และวัฒนธรรม) ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนชายแดน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 397 ราย ประกอบด้วย ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในชุมชนชายแดนของประเทศไทย ได้แก่ ชุมชนชายแดนตลาดอินโดจีนท่าเสด็จ ชุมชนชายแดนตลาดอินโดจีนรากแก้วศรีมงคล ชุมชนชายแดนบ้านคลองลึก ตลาดโรงเกลือ และชุมชนชายแดนบ้านหาดเล็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติพรรณนา การหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุเชิงชั้น และการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิทธิพลการค้าชายแดน ความกลมกลืนทางวัฒนธรรม และนโยบายภาครัฐ (ด้านการส่งเสริมการค้าชายแดนและวัฒนธรรม) ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนชายแดน มีตัวแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรดังกล่าวส่งผลต่อสภาพวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนชายแดน จากการศึกษายังพบอีกว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนชายแดนโดยรวม ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรด้านนโยบายภาครัฐ (ด้านการส่งเสริมการค้าชายแดน และวัฒนธรรม) ตัวแปรด้านความกลมกลืนทางวัฒนธรรม และตัวแปรด้านอิทธิพลการค้าชายแดน

References

กรมการค้าต่างประเทศ. (2548, กันยายน). การส่งเสริมการค้าชายแดน. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2550, จาก http://www.thainews.th.com/download/doc5.doc
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. (2550, เมษายน). กรอบพันธมิตร และหุ้นส่วนระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2550, จาก http://www.mfa.go.th/business/1746.php
กระทรวงการต่างประเทศ. (2549). การส่งเสริมการดำเนินธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2549, จาก http://www.mfa.go.th/web/200.phd?id:
จีระ หงส์ลดารมภ์. (2553). การทูตแบบใหม่. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2553, จาก http://www.chiraacadamy.com
ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท. (2543). การค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
ทักษิณ ชินวัตร. (2545). เอเชี่ยนเทรดแฟร์. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2550, จาก http://72.14.253.104/search?q= eache:t8WqjSCDe6QJ:www.cambridgeconsultan
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2548). การค้าชายแดนไทย – ลาว – กัมพูชา. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2550, จาก http://www.bot.or.th/BOTHomepage/databank/Econcond/seminar/Discuss/trade-border/trade-border.pdf
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2547). อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2550, จาก http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=24275
สมนึก แตงเจริญ. (2541). ทฤษฎีและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อนุช อาภาภิรม. (2546). การค้าชายแดน: การเชื่อมสัมพันธ์ตามรอยตะเข็บ. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2549, จาก http://www.rinacmus.ac.th/mod.th/mas_page_event_his/
Alvarez, R. R. (1995). The Mexican-US border: The making of anthropology of borderlands. Annual Review of Anthropology, 24, 447-470.
Daude, C., & Fratzscher, M. (2006, February). The pecking order of cross-border investment. Retrieved November 20, 2006, from http://www.ecb.int/pub/polf/scpwp/ecbwp590pdf
Erie, P., & Nathanson, C. (2000, May). The challenge of developing the cross-border region’s trade infrastructure. Retrieved June 14, 2007, from http://www.sondiegodialogue.org/pdfs/Trade/ 20challenge%20522.pdf
Malik, K. (2006, December). Regional economic integration in Asia and Pacific. Retrieved April 03, 2008, from http://www.wdp.org.cn/modules.php?op
Rajesh, P. (2006, July). Hostility put aside. India and China reopen silk road. Retrieved May 20, 2007, from http://www.boston.com/news/world/asia/articles/2006/07/06/hostility-put-aside

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26