ความพร้อม สิทธิประโยชน์ และความเสี่ยงในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ในการปฏิบัติงานของทหารบกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ปิยะวดี จินดาโชติ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความพร้อมในการปฏิบัติงาน, ความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์, ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน, คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความพร้อมในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์ และความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของทหารบกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการทหารบกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ข้าราชการทหารบก ระดับชั้นสัญญาบัตร และระดับชั้นประทวน จำนวน 390 นาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้น และการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลของความพร้อมในการปฏิบัติงานของทหาร มีผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์และความพร้อมในการปฏิบัติงานจะส่งผลทางตรงต่อความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน และความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของทหารไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การกำหนดนโยบายของกองทัพบกต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของทหาร ควรให้ความสำคัญในด้านการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร

References

กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2551). การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น.
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. (2554). แผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประจำปี 2555-2557. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
บดี ตรีสุคนธ์. (2551). ต้นทุนเวลา VS ประสิทธิภาพ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2551, จาก http://www.groupjobb.com/news/read.asp?nNo=0000001
มนตรี แย้มกสิการ. (2552). ความหมายของการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548). “การจูงใจและการเสริมแรง” พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
เรณู ทวีวัฒนโสภณ. (2547). ภาวะผู้นำและการพัฒนานักบริหาร. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2553, จาก http://www.thaihrhub.com/index.php/archives/research-view/research-202/
วัชระ ฤทธาคนี. (2545, สิงหาคม 4-15). ปัญหาภาคใต้: รากเหง้ากำเนิดเป็นเพียงความคับแค้นใจเท่านั้น. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, 43(11), 32-33.
ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549). ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2552). สถานการณ์ใหม่ชายแดนใต้: ความเสี่ยงในการถูกรุกกลับทางการทหารและตรึงกำลังในทางการเมือง. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2552, จาก hppt://www.deepsouthwatch.org/node/288
สันติ อุษณกรวงศ์. (2548, พฤศจิกายน 18). ทฤษีสมคบคิดใน 3 จังหวัดภาคใต้. กรุงเทพธุรกิจ.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2550). บูรณาการงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
Baron, R. A., & Jerald, G. (1990). Behavior in Organization. Boston: Allyn and Bacon.
Castro, C. (2005). Building battle mind. U.S. Army Medical Research and Materiel Command. Retrieved November 11, 2009, from https://Safety.army.mil/Portals/multimedia/docs/ magazines/countermeasure/2005_issues/emaug2005.doc
Chaisson, J. P. (2005). Leav it there!. Retrieved November 11, 2009, from https://Safety.army.mil/Portals/ multimedia/docs/magazines/contermeasure/2005_issues/emaug2005.doc
Cox, T., & Cox, X. (1993). Psychosocial and organizational hazards at work. European Occupational Health Series, 5. Copenhagen: WHO Regional Office (Europe).
Delamotte, Y., & Takezawa, I. (1984). Quality of work life in international perspective. Switzerland: International Labour Organization.
Dorfman, M. S. (2008). Introduction to Risk Management and Insurance (9th ed.). North Carolina: Prentice Hall.
Finegoal, D., & Spreitzer, G. M. (2002). Age Effects on the predictors. Organizational Behavior, 23(5), 655-674.
Hauber, R. (2009). Safety officer 42nd infantry division. A cure for negligent discharges?. Retrieved November 11, 2009, from https://Safety.army.mil/Portals/ multimedia/docs/magazines/contermeasure/2005_issues/emaug2005.doc
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational Administration Theory Research and Practice. Boston: McGraw-Hill.
Locke, E. A. (1976). The Neture and cause of job satisfaction. In M. D. Dunnette (Ed), Organization Psychology (pp. 1297-1350). CG: Rand McNally.
Nadler, D. A., & Lawler, E. E. (1983). Quality of work life: Perceptions and direction. Organizational Dynamics, 11(3), 20-30.
Shelley, J. (2009). What were they thinking? Retrieved November 11, 2009, from https://Safety.army.mil/Portals/ multimedia/docs/magazines/contermeasure/ 2005_issues/emaug2005.doc
Sirgy, M. J., Efraty, D., Seigel, P., & Lee, D. (2001). A New Measure of Quality of Work Life (QWL) Based on Need Satisfaction and Spillover Theory. Social Indicators Research, 55, 241-302.
Vote. (2555). รัฐ-โจร บงการจุดไฟใต้วัดใจประยุทธ์ แลกหมัด. นิตยสาร คนมีสีรายปักษ์ วิจารณ์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 163 หน้า 12-13 ปักษ์แรก สิงหาคม 2555.
Walton, R. E. (1974). QWL indicators-Prospects and problems. Measuring the Quality of Working Life, 2(15), 57-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26