ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ, พฤติกรรมการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการบริหารที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t test (Independent t test) ค่า F test(Independent sample F test) และสถิติ Pearson Product Moment Correlation Coefficient ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงส่วนใหญ่มีประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการทำงานของบุคลากร ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่ และด้านสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน อยู่ในระดับมาก (2) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัจจัยด้านการบริหาร ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ด้านนโยบายการบริหารงาน ด้านการประสานงาน ด้านใช้หลักคุณธรรมในการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยด้านการบริหารทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ด้านนโยบายการบริหารงาน ด้านการประสานงาน ด้านใช้หลักคุณธรรมในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับประสิทธิผลการทำงานของนักบัญชีในวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บัญชี), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทองใบ สุดชารี. (2545). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ธีราลักษณ์ ฉิมพาลี. (2546). อิทธิพลของประสิทธิผลในการสื่อสารระหว่างบุคคลและความพึงพอใจในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานคนไทยในบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาอุตสาหกรรม), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2534). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
นภดล ไชยบาล. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการทั่วไป), มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
พิศิษฐ์ ขาวจันทร์. (2546). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2559). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2559, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันชัย มีชาติ. (2552). การบริหารองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมคิด บางโม. (2538). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์.
สมยศ นาวีการ. (2537). การติดต่อสื่อสารขององค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา. (2559). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.techno.ru.ac.th/about/
Barnard, C. I. (1968). The Functions of the executive. Cambridge: Harvard University Press.
Drucker: F. (1968). The effective executive. New York: Harper & Row Publishers.
Etzioni, A. (1964). Modern Organization. Englwood Cliffs: N.J. Prentice-Hall.
Fiedler, F. E. (1967). A Theory of Leadership Effectiveness. New York: McGraw-Hill.
Strauss, G., & Sayles, L. R. (1967). Personnel: The Human Problem of Management. Englewood Cliff, N.J.: Prentice–Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว