ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการจัดการแก้ปัญหาการป้องกันการแพร่ระบาด และปราบปรามยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • จารุจน์ ฤทธิไกร นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, นโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติด, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์กับประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือประชากรอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 7,312 คน และทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานเป็นตัวบรรยาย ส่วนการทดสอบทางสถิติใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ (Multiple Regression) ผลการศึกษาปรากฏว่า (1)ความประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดไปปฏิบัติ ในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ภาพรวม) อยู่ในระดับสูง (2) มีความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของ การนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลได้ร้อยละ 57.7

References

กมล รอดคล้าย. (2549). การวิเคราะห์ระบบการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาของหน่วยงานรัฐบาลและเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงมโนทัศน์. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
ถวัลยรัฐ วรเทพพุฒิพงศ์. (2546). การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.
ปิยะนุช เงินคล้าย. (2545). เทคนิคเชิงปริมาณในงานบริหารรัฐกิจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พนัส พฤกษ์สุนันท์. (2550). ทิศทางการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่ชุมชนน่าอยู่ อย่างมีพลังและยั่งยืน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 30, 4 (ต.ค. - ธ.ค. 2550) 45-53.
วรเดช จันทรศร. (2530). การนำนโยบายสาธารณสุขไปปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิค.
สุภร ชินะเกตุ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Anderson, R. (1975). Development of induces to medical care. Michigan: Ann Arbor Health Administration Press.
Bardach, Eugene. (1980). The implementation game. Cambridge, Mass: Mit.
Barrett, Susan and and Fudge, Colin. (1981). Policy and action: Essays on the implementation of public policy. New York: Methuen.
Edwards, G. C. (1980). Implementing Public Policy. Washington, DC: Congressional quarterly Press.
Hogwood, B. W. & Gunn, L. (1984). Policy Analysis for the Real World. Oxford: Oxford University Press.
Larson, J. (1980). Biologist and Natural Resources Manager, Naval Air Station, North Island, San Diego-Personal communications. February, March and April.
Paul A. Sabatier and Daniel z. Mazmanian, 1983
Pressman, J. L. & Wildavsky, A. (1973). Implementation (2nded.). Zcalifornia: University of California Press.
Thomas R. Dye. (1984). Understanding Public Policy (5th ed.). Englewood Cliffs: Prentice-Hall.
Van Meter, D. S. & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration and Society, 9(46): p.4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26