ประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะและเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การบริหารจัดการขยะ, เทคโนโลยีที่เหมาะสมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะและเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี (2) เปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะโดยประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และรูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะโดยประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยรวม อยู่ในระดับมาก ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี มีการเลือกใช้เทคโนโลยีในการจัดการขยะมูลฝอย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะและเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยประชาชนมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา สภาพบ้านที่อยู่อาศัย และสถานภาพการเป็นสมาชิกเครือข่ายคัดแยกขยะ ต่างกัน มีประสิทธิผลในการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกัน (3) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย การมีจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอย และการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการบริหารจัดการขยะ นอกจากนี้พบว่า การพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการบริหารจัดการขยะ
References
จารุวรรณ ทองไพบูลย์. (2545). การบริหารและการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนา), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชื่นใจ บูชาธรรม. (2542). การมีส่วนร่วมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของผู้ปรกอบการธุรกิจท่องเที่ยวบริเวณหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สิ่งแวดล้อมศึกษา), มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปิยชาติ ศิลปสุวรรณ. (2557). ขยะมูลฝอยชุมชน ปัญหาใหญ่ที่ประเทศกำลังเผชิญ. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
วิลาวัลย์ เสนารัตน์ และคนอื่นๆ. (2541). เอกสารการสอนชุดมโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 7-12: การพยาบาลกับการส่งเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2548). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน. รัฐสภาสาร, 55: 21-60.
สมนึก ปัญญาสิงห์. (2541). การทำงานแบบมีส่วนร่วม. ขอนแก่น: คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2553). จิตวิทยาการเรียนรู้. [Online]. Available: URL: http://tupadu.multiply.com/journal/item/1)
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์, เอกวิทย์ มณีธรและคนอื่น ๆ. (2549). มุมมองสังคมไทยแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: เวิลด์เทรด ประเทศไทย.
อนันต์ เกตุวงศ์. (2523). การบริหารพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรัญ จิตตะเสโน และคณะ. (2551). หลักการและวิธีการบริหารจัดการชุมชน. สงขลา: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อารีย์ วงศ์เกษม. (2542). การบริหารและการจัดการมูลฝอยโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณีเทศบาลเมืองเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนา), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อินสอน บัวเขียว. (2537). สาระสําคัญการบริหารชมชน. กรุงเทพฯ: พิราบสํานักพิมพ์.
Hodge, B. J., & Anthony, William P. (1991). Organization Theory (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon. Kerlinger.
Jones, G. R. (2002). Understanding and managing: Organizational behavior (3rd ed.). Massachusetts: Addison-Wesley.
Steers, R. M. (1977). Organization Effectiveness. California: Goodyear Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว