ภาวะผู้นำสำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา
คำสำคัญ:
การฝึกอบรม, ภาวะผู้นำ, สถาบันการพลศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำสำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 3 สถาบันการพลศึกษา 17 วิทยาเขต ปีการศึกษา 2558 จำนวน 638 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำ โดยใช้เทคนิค Factor Analysis โดยสกัดองค์ประกอบ ด้วยวิธีเทคนิคแกนสำคัญ (Principal Component Analysis: PC) การหมุนแกน แบบออโธกอนอล (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Method) และการคัดเลือกจำนวนองค์ประกอบ ที่มีค่าไอเกน (Eigen Value) เท่ากับ หรือมากกว่า 1 คัดเลือกข้อคำถามที่มีน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) เท่ากับหรือมากกว่า 0.5 และตั้งชื่อองค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ (1) ด้านพลศึกษาและกีฬา มีค่าไอเกนเท่ากับ 16.913 (2) ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีค่าไอเกนเท่ากับ 2.956 (3) ด้านบุคลิกภาพมีค่าไอเกนเท่ากับ 2.226 (4) ด้านทักษะทางสังคม มีค่าไอเกนเท่ากับ 1.965 (5) ด้านสติปัญญา มีค่าไอเกนเท่ากับ 1.546 (6) ด้านความสุภาพอ่อนโยน มีค่าไอเกนเท่ากับ 1.426 และ (7) ด้านสมรรถนะวิชาชีพพลศึกษา มีค่าไอเกนเท่ากับ 1.315 และมีองค์ประกอบภาวะผู้นำที่สำคัญ 4 ด้านคือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านทักษะทางสังคม ด้านสติปัญญา และด้านสมรรถนะวิชาชีพพลศึกษา ที่นำมาใช้ในการสร้างโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำสำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา โดยพิจารณาจากระดับภาวะผู้นำของนักศึกษาซึ่งพบว่าภาวะผู้นำของนักศึกษาทั้ง 4 ด้านนี้อยู่ในระดับปานกลาง
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2558). ยุควิกฤตเด็กและเยาวชน….ขาดภาวะผู้นำ. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2558, จาก http://www.griangsak.com/index.php?components
จุฑาทิพย์ เคราะห์ดี. (2550). การพัฒนาแบบประเมินทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาลุ่มน้ำลพบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิพย์ นิลนพคุณ. “มารยาทในสังคม”. ค้นคืนวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 จาก https://pirun.ku.ac.th/~agrpct/lesson6/working_process2.html
ทิพวรรณ พานเข็ม. (2550). ผลของกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาปฐมวัยศึกษา), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2527). นโยบายและการวางแผน (หลักการและทฤษฎี). กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.
พิชาภพ พันธ์แพ. (2554). ผู้นำกับการจัดการการเปลี่ยนแปลง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้น.
ไพรัช ปานอุทัย. (2530). คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ตามทรรศนะของผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ เขตการศึกษา 5. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (พลศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2540). โครงการศึกษาวิจัย เรื่องอุดมศึกษาไทย: วิกฤติและทางออก. กรุงเทพฯ: คณะวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร
ยงยุทธ เกษสาคร. (2551). ผู้นำและการทำงานเป็นทีม (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เอส แอนด์ จี กราฟฟิค.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). รวมบทความเกี่ยวกับ ปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรวุธ มาฆะศิรานนนท์. (2542). คัมภีร์บริหารองค์การเรียนรู้สู่ TQM (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์; สมชาย หิรัญกิตติ; และ ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์
ศุภวรรณ มองเพชร. (2547). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ.
สถาบันการพลศึกษา. (2555). ยุทธศาสตร์สถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2556-2560. ชลบุรี: สถาบันการพลศึกษา. อัดสำเนา.
สถาบันการพลศึกษา. (2556). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตของคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2554. คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตมหาสารคาม. อัดสำเนา.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานวิจัย เรื่องรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูบุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียนในการใช้สื่อเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา เรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุวกิจ ศรีปัดถา. (2555). ภาวะผู้นำกับการตัดสินใจ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธิ์, ปีที่ 1 เล่มที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2555): 5.
อัจฉรา นวจินดา. (2555). “มารยาทในสังคม”. ค้นคืนวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 จาก pirun.ku.ac.th/~agrpct/envelop/character3.doc
อัจฉรา สังข์สุวรรณ. (2539). ผู้นำกับการทำงานเป็นทีม. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 6, ฉบับที่ 4 (ส.ค. 39: 11-16.
อุดมศิลป์ สำราญอาตม์. (2525). ผู้นำในองค์การ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
อำไพ อินทรประเสริฐ. (2542). ศิลปะการเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
McClelland, D. C. (1973). “Testing for Competency Rather than Intelligence” American Psychologist. 17(7): 57-83.
Stogdill, R. M. (1974). Handbook of Leadership: A survey of theory and research. New York: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว