การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับต้นในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • พรชิตา จันทรสาขา นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน, การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้นในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับต้นในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้บริหารระดับต้นในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 166 คน และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสัมประสิทธิ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้บริหารระดับต้นในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในภาพรวม เท่ากับ 3.69 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.41 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหารระดับต้นในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเรียงลำดับจากน้อยไปมากดังนี้ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านกระตุ้นทางปัญญา (2) ผู้บริหารระดับต้นในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานในหน่วยงาน ในภาพรวม เท่ากับ 3.21 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.37 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหารระดับต้นในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานในหน่วยงาน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านลูกค้า ด้านชุมชน ด้านการปฏิบัติการ ด้านบุคลากร และด้านการเงิน (3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในภาพรวม มีความสัมพันธ์ ในเชิงบวก กับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีความสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ ในเชิงบวก กับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีความสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ ในเชิงบวก กับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ด้านลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มีความสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ ในเชิงบวก กับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ด้านกระตุ้นทางปัญญา มีความสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ ในเชิงบวก กับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และด้านคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีความสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ ในเชิงบวก กับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

กฤษณา พุ่มเล็ก. (2551). ผลกระทบของธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติที่มีผลต่อผู้ประกอบการในตลาดสด เทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และคณะ. (2550). บทบาทบริษัทข้ามชาติในไทย. http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q1/2007feb19p2.htm
นิพนธ์ กินาวงศ์. (2542). หลักบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: ตระกูลไทย.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2548). การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management) (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เซ็นทรัล เอ็กเพรส.
ประเสริฐ สมพงษ์ธรรม. (2538). การวิเคราะห์ภาวะผู้นำของศึกษาการจังหวัดที่สัมพันธ์กับ ประสิทธิผลองค์การสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรัชญา ชุ่มนาเสียว. (2549). การประเมินผลโครงการนำร่อง เพื่อเสริมสร้างกระบวนการปฏิบัติงานและเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2545). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สุภาการพิมพ์.
ยุวรัตน์ แตงน้อย. (2549). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับกลางกับประสิทธิผลองค์การ: ศึกษากรณี การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
วรางคณา เทียมภักดี. (2547). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสู่การรับรองคุณภาพคุณภาพโรงพยาบาล: การศึกษาโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิจารณ์ พานิช. (2547). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2523). การบริหารบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2547). การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ: ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น.
สุนีย์ นวจินดาพันธ์. (2548). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ศึกษากรณี จังหวัดปัตตานี. ภาคนิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2536). ภาวะผู้นำและความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Argyris, Chris. (1964). Integration the Individual and the Organization. New York: John.
Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free Press.
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). Transformational leadership development. California: Consulting Psychologists Press.
Boyett, J. H. and Boyett. J.T. (2001). The guru guide to the knowledge economy: The best ideas for operating profitably in a hyper-competitive world. New York: John Wiley & Sons Inc.
Campbell, J. P. (1997). On the Nature of Organization Effectiveness. In New Perspective On Organizational Effectiveness. Edited by Paul S Goodman and Johannes M. Pennings and Associates. San Francisco: Jassey Basss.
Dunn, William N. (1981). Public Policy Analysis: An Introduction. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice- Hall.
Etzioni, A. (1964). A Modern Organization. New Jersey: Prentice-Hall.
Katz, Daniel., & Kahn, Robert L. (1966). The Social Psychology of Organization. New York: John Wiley & Sons.
O’Leary, E. (2000). 10 minute guide to leadership. (2nd ed.). Indinapolis, In: A Pearson Education Company.
Robbins, Stephen P. (1990). Organization Theory: Structure Design and Application (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Richards, D. & Engle, S. (1986). “After the Vision: Suggestions to Corporate Visionaries and Vision Champions.” In J.D. Adams. (Ed). Transforming Leadership, Alexandria, VA: miles River Press. 199-215.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-09