ความสำเร็จของการนำนโยบายการอำนวยการจราจรไปปฏิบัติในพื้นที่รอยต่อภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนเพื่อรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ด.ต. อุกฤษฏ์ บุปผาชาติ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การอำนวยการจราจร, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสำเร็จของการอำนวยการจราจรในพื้นที่รอยต่อภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนเพื่อรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการอำนวยการจราจรในพื้นที่รอยต่อภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนเพื่อรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (3) เปรียบเทียบความสำเร็จของการอำนวยการจราจรในพื้นที่รอยต่อภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนเพื่อรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสำเร็จกับความสำเร็จของการอำนวยการจราจรในพื้นที่รอยต่อภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนเพื่อรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ข้าราชการตำรวจอำนวยการจราจรสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 147 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการอำนวยการจราจรในพื้นที่รอยต่อภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนเพื่อรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (2) ความสำเร็จของการอำนวยการจราจรในพื้นที่รอยต่อภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนเพื่อรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (3) ข้าราชการตำรวจที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสำเร็จของการอำนวยการจราจรในพื้นที่รอยต่อภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนเพื่อรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้าน ระดับชั้น (ยศ) อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่แตกต่างกัน (4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการอำนวยการจราจรในพื้นที่รอยต่อภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนเพื่อรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในระดับสูง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

References

จุมพล หนิมพาณิช. (2547). ผู้นำอำนาจและการเมืองในองค์การ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2542). ยุทธศาสตร์การบริหารใน 3 โลกธุรกิจสู่ความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2530). การบริหารงานตำรวจ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2538). การวิจัยประเมินผล: หลักการและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก.
ยงยุทธ ฉายแสง. (2553). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ในสถานีตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วนิดา ลิ้มจิตสมบูรณ์. (2536). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน: กรณีศึกษา หมู่บ้านสามทองและหมู่บ้านตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์พัฒนาสังคมมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศราวุฒิ พนัสขาว. (2518). การจราจรในมหานคร. กรุงเทพฯ: ณเสียงเซียน จงเจริญ.
สมกฤษ บำรุงจิตต์. (2554). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีต่อการปฏิบัติงานจราจรของครูโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2544). นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมยศ นาวีการ. (2525). การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.
อุทัย หิรัญโต. (2525). เทคนิคการบริหาร. กรุงเทพฯ: ทิพยอักษรการพิมพ์.
Frese, M. (2000). Success and Failure of Microbusiness Owners in Africa: A Psychological Approach. The United States of America: Greenwood Publishing Group.
Koontz , H. and Weihrich . H. (1988). Management. New York: McGraw-Hill.
Paul A. Sabatier & Daniel A. Mazmanian. (1980). Implementation and public policy. Berkley: University of California Press.
Van Meter, Donald S. & Van Horn, Carl E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Social, 6(2): 445-486.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-09