ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การบริหารการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ที่พักอาศัยแบบอาคารชุด เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • บุญศรี สุธีรชัย หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การบริหารการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่, ที่พักอาศัยแบบอาคารชุด, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การบริหารการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ ที่พักอาศัยแบบอาคารชุด เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ใช้วิทยวิธีแบบประสม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากผู้เช่าอาคารชุด ผู้บริหารและพนักงานของ บริษัท คอสโม พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จากัด รวมจานวน 360 คน วิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคแบบจาลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสาคัญ 8 คน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกลยุทธ์การบริหารการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การบริหารการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพักอาศัย ศักยภาพของผู้บริหารและพนักงานการบริหาร และการจัดการองค์กร พฤติกรรมของผู้พักอาศัย การวิจัยและพัฒนา รวมถึงกลยุทธ์การบริหารการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่อยู่ในระดับมาก (2) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพักอาศัย มีอิทธิพลโดยรวมต่อกลยุทธ์การบริหารการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่มากที่สุด รองลงมาเป็นการบริหารและการจัดการองค์กร ศักยภาพของผู้บริหารและพนักงาน พฤติกรรมผู้พักอาศัย ร่วมกับการวิจัยและพัฒนา ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ผู้ประกอบการในธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ ควรให้ความสาคัญ ต่อการเลือกทาเลที่ตั้งในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพักอาศัย โดยมุ่งเน้นให้บริการในด้านความปลอดภัย และด้านความสะดวกสบาย ของผู้พักอาศัย สาหรับกลยุทธ์การบริหารการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยผ่านกระบวนการสร้างจิตสานึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม การดาเนินธุรกิจตามแนวคิดการจัดการองค์กรสมัยใหม่ และการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกัน

References

กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์. (2555). การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม: กลยุทธ์และโอกาสขององค์กรธุรกิจประเทศกำลังพัฒนาในสังคมพลวัต. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 6(2), 83-110.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). คลื่นลูกที่ 5 ปราชญสังคม สังคมไทยที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงกลยุทธ์ STRATEGIC THINKING (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2555ก). เทียบชั้นฮาร์วาร์ด. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2555ข). สยามอารยะ แมนนิเฟสโต: แถลงการณ์สยามอารยะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2557ก). เก่งงานพร้อมรับอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
ณรงค์ กุลนิเทศ และสุดาวรรณ สมใจ. (2558). ระเบียบวิจัยขั้นสูงและการออกแบบการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มาสเตอร์พริ้นท์สามเสน.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2555). การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหา แนวทาง และปัญหา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภดล ร่มโพธิ์. (2557). การวัดผลการปฏิบัติงานองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิภพ วงศ์เชิดขวัญ. (2554). แนวทางในการบริหารจัดการอาคารสูงยุคใหม่, ธอส. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 10, 2557, จาก http://www.ghbhomecenter.com/journal/journal-Detail.php?id_articleghs=2350.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2557). การบริหารการตลาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Marketing Management). กรุงเทพมหานคร: เฟิสท์ออฟเซท (1993).
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานครและปริมณฑลปี 2558: ผู้ประกอบการพร้อมปรับกลยุทธ์…รอจังหวะตลาดฟื้น. กระแสทรรศน์, 21(2610), หน้า 1-6.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2556). 5 รูปแบบการคิดเชิงกลยุทธ์, ศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 26, 2557, จาก http://www.sbdc.co.th.
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย. (2553). อยู่กับภัยใกล้ตัว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุภมาส อังศุโชติ และคนอื่นๆ. (2544). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
อนุชา กุลวิสุทธิ์. (2556). กลยุทธ์นอกตำราการลงทุนอสังหาริมทรัพย์แบบเซียน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987).
Alcacer, J., & Chung, W. (2010). Location strategies for agglomeration economies. Roberts, H., Smith School of Business, University of Maryland.
Barney, J. B., & Hesterly, W. S. (2010). Strategic management and competitive advantage: Concepts and cases (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Chareonwongsak, K. (2007). Moving Thailand forward. Bangkok: Success Media.
Chen, N., Dwyer, L., & Firth, T. (2014). Effect of dimension of place attachment on residents’ word-of-mouth behavior. Taylor & Francis Group, 5(16), pp. 826-843.
Clark, J., Friedman, J., & Stone, J. (2012). Student apartment price models for the Glenwood Riverfront Development. Sustainable cities Initiative, University of Oregon.
Gifford, J. (2011). 100 Great leadership ideas. England: Marshall Cavendish.
Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation, and control (9th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Kotter, J. P., & Hoen, D. S. (2002). The heart of change: Real-life stories of how people change their organization. New York: MacMillan.
Mahnken, T. G. (Ed.). (2012). Competitive strategies for the 21st Century: Theory, history, and practice. Palo Alto: Standford University Press.
Moczek, A. P. (2014). Towards a theory of development through a theory of development evolution. Oxford University Press.
ReVelle, C., & Marianov, V. (2013). Location analysis, In Encyclopedia of operations research and management science. Springer International, pp. 892-899.
Taylor, F. W. (1911). Scientific management. New York: Harper Brothers.
Wang, H. (2010). The theories for competitive advantage. In H. Hasan (Ed.), Being practical with theory: A window into business research. Australia: University of Wollongong.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-10