ความสำเร็จของการอำนวยความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ของสถานีตำรวจท่องเที่ยว 7 (หัวหิน)

ผู้แต่ง

  • บุศรินทร์ แก้วประดิษฐ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความสำเร็จ, การจัดการ, การอำนวยความปลอดภัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสำเร็จของการจัดการอำนวยความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ของสถานีตำรวจท่องเที่ยว 7 (หัวหิน) และ (2) เปรียบเทียบความสำเร็จการจัดการอำนวยความปลอดภัย   แก่นักท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ของสถานีตำรวจท่องเที่ยว 7 (หัวหิน) จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามของนักท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามไปยังนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองหัวหินในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจท่องเที่ยว 7 (หัวหิน) ทั้งหมด 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม  เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า (นักท่องเที่ยว เห็นว่าสถานีตำรวจท่องเที่ยว 7 (หัวหิน) มีความสำเร็จในการอำนวยความปลอดภัย  แก่นักท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองหัวหินโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักท่องเที่ยว เห็นว่าสถานีตำรวจท่องเที่ยว 7 (หัวหิน) มีความสำเร็จในการอำนวยความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน    อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านแผนงาน (2) ด้านการประเมินแผน (3) ด้านการนำไปปฏิบัติ และ (4) ด้านการปรับแก้ไข ตามลำดับ และ (2) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากทัศนะของนักท่องเที่ยวต่อความสำเร็จของการจัดการอำนวยความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ของสถานีตำรวจท่องเที่ยว 7 (หัวหิน) เมื่อจำแนกตามอายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่วนด้านเพศ และระดับการศึกษา ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว. (2553). ยุทธศาสตร์การรักษาความปลอดภัยและให้บริการแก่นักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว. (ม.ป.ป.). (2554). แผนกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยและให้บริการแก่นักท่องเที่ยว 4 ปี พ.ศ.2551-2554. กรุงเทพฯ: กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). สถิติท่องเที่ยว ปี 2551-2555. ค้นเมื่อ สิงหาคม 2557 จาก www.mots.go.th/ewt_news.php?nid=5661
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยา สมมาตย์. (2541). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวชายทะเล ในเขตจังหวัดเพชรบุรี. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีระวิทย์ พรายแย้ม. (2545). การศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างประเทศในการมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาเศรษฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ประสิทธิ ตันมี. (2550). การพัฒนางานวิชาการโดยใช้วงจร PDCA ของโรงเรียนบ้านวังรวก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
พรสวรรค์ ศิริวัฒน์. (2552). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดโดยใช้ หลักการบริหารวงจร PDCA โรงเรียนบ้านโชคนาสาม อำเภอปราสาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ยุภาพร จังทร์คง. (2556). ความสำเร็จของการนำนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตทหารไปสู่การปฏิบัติ กรณีศึกษา: กองบิน 5 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด.
รสสุคนธ์ จุยคำวงค์. (2545). การพัฒนาการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวของสวนสัตว์เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เลิศณรงค์ พูนเกิดมะเริง. (2546). การศึกษากระบวนการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
วรรณา วงษ์วานิช. (2539). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
วิณุรา ทองแก้ว. (2555). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติ กรณีศึกษาองทุกหลักประกันคุณภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวิสัยใต้. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
วินัย หริ่มเทศ. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามวงจร PDCA สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
วิลาวัลย์ ประสานจิตร. (2552). แนวทางการบริหารงานอนามัยโรงเรียนตามระบบ PDCA ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
วันทิกา หิรัญเทศ. (2556). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อการให้บริการของตำรวจท่องเที่ยวถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยราชพฤกษ์.
เศกสรรค์ ยงวณิชย์. (2536). เอกสารประกอบการสอนวิชา ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภาพร มากแจ้ง. (2534). หลักมัคคุเทศก์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเตียนสโตร์.
Cheema, Shabbir and Dennis A. Rondinell. (1983). Implementing Decentralization Programmes in Asia: Local Capacity for Rural Developments. Nagoya : United Nations Centre for Regional Developments.
Ishikawa. K. (2009). What is total quality control ?. Translated by D.J. Lu. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice–Hall.
Ingram, Helen M. and Dean Mann. (1980). Policy Failure: An Issue Deserving Analysis, in Why Policies Succeed or Fall. Beverly Hills, California: Sage Publication.
Kerr, Donna H. (1976). The logic of Policy and successful policies. Policy Sciences. Vol.7, pp. 351–363.
McClelland, D. C (1953). The Achievement Motive. New York: Appleton-Century Crofts.
Van Horn, Carl E. and Donald S. Van Meter. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration and Society, (Feb), p. 440, 445-487.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-10