รูปแบบการอยู่ร่วมกัน พุทธ คริสต์ อิสลาม ในพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • จักร์พงษ์ เปี่ยมเมตตา สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ญาณกร โท้ประยูร สถาบันรัชต์ภาคย์
  • อัครกฤต นุ่นจันทร์ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ฉลิวรรณ ปูรานิธิ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • กิติพัฒน์ จะแจ้ง สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

วัฒนธรรม, ศาสนา, พุทธ คริสต์ อิสลาม, ต้นแบบแห่งการอยู่ร่วมกัน, สันติสุข, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

          รายงานฉบับนี้ สิ่งที่คณะผู้วิจัย สนใจศึกษาคือ อัตลักษณ์ ค้นหาจุดร่วม ของวัฒนธรรมของสามศาสนา ประกอบด้วย พุทธ คริสต์ อิสลาม และเพื่อเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี และเตรียมความพร้อม เมื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ใช้การวิจัยแบบพสานวิธี โดยการลงพื้นที่สังเกต และการอภิปรายกลุ่มย่อยโดยใช้แบบสังเกต กับแบบสัมภาษณ์กลุ่ม และใช้แบบสอบถามเพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้จากเชิงคุณภาพ พบว่า อัตลักษณ์ของทุกศาสนาและชุมชนต่างกัน แต่มีหลักศาสนาของชุมชนดังกล่าวเป็นเงื่อนไขกำหนดและส่งเสริมพฤติกรรมของศาสนนิกชน กระทำตนเป็นคนดีมีวัฒนธรรม ที่ยอมรับว่าเป็นความดีร่วมกัน มีความรักเพื่อนมนุษย์ มีความกตัญญู รู้จักให้อภัยเป็นพื้นฐานของชุมชนสามสาย ข้อเสนอแนะ ควรสร้างเครือข่ายปราชญ์สามสายและการส่งเสริมงานประจำปีในเชิงรุก และพบอีกว่ารูปแบบวัฒนธรรมชุมชนสามสาย พุทธ คริสต์ อิสลาม ในด้านความรัก ความดี การให้อภัย ความกตัญญูกตเวที ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยว่ามีความสำคัญในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = .542) ที่ส่งผลให้เป็นคนดีมีวัฒนธรรมและเกิดสันติสุข

References

นัทธนัย ประสานนาม. (2550). เพศ ชาติพันธ์ และปัญหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ในภาพยนตร์เรือง Touch of Pink. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2557, จาก http:// www.midnigthuniv.org
ปรีดา พูลสิน. (2554). โครงการวิจัยการมีสวนร่วมของชุมชนในการจัดการความรูทางศิลปวัฒนธรรม:กรณีศึกษาชุมชนวัดโสมนัส. ได้รับทุนอุดหนุนจากกรมสงเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, ประจำปงบประมาณ 2554.
พรอุษา ประสงควรรณะ. (2556). การศึกษาชุมชนต้นแบบต่างศาสนาที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติในแขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ระพีพรรณ มูหะหมัด. (2556). อิสลามกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลามคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม), คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วรินทร์ อาราเม. (2552). อัตลัตกาณ์ชาติพันธ์ที่หลงเหลือของคนมอญในชุมชนบ้านรามัญตะวันตก ตำบลละเกร็ง จังหวัดสมุทรสงคราม. สาขาวิชาภาคมนุษย์วิทยา, มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สุขุม กิจสงวน. (2557). บาทหลวง, เจ้าอาวาสวัดดวงหทัยนิมลของแม่พระ. สัมภาษณ์ 5 ตุลาคม 2557.
อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม) (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Herzberg, F., & others. (2002). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.
White, L. (1949). The Science of Culture: A study of man and civilization.
Weber, Max. (1966). The Theory of Social and Economic Organization. (Handerson & Parson Trans) Handerson and Tallcott Parson, (4th ed). New York: The free Press.
Cos Tribe Mon.gif. http;//th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้นเมื่อ 24กันยายน 2557)
http://cgsc.rta.mi.th/cgsc/index.php สืบสืบค้นเมื่อ 24กันยายน 2557)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-13