ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิทยาพล ธนวิศาลขจร อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ศิริกัญญา ทำมารุ่งเรือง อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ยศวีร์ ศิริวลัยชูสิน อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์ตราสินค้า, การตัดสินใจซื้อ, อาหารแช่แข็ง

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าอาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้ากับการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และ (3) เพื่อวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างใช้รูปแบบเชิงสำรวจได้แก่ ผู้บริโภคอาหารแช่แข็งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือสถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณด้วยวิธี Stepwise ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 31 - 50 ปี สถานภาพสมรส มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 2 คน ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 30,001 - 40,000 บาท และมีการศึกษาระดับปริญญาตรี ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 2 ปัจจัย และสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ได้แก่ ŷ = .551(X3) +.211(X1): R2 = 0.724, SE = 0.217

References

กรุงเทพธุรกิจบิซวีค. (2558). คนไทยกินข้าวนอกบ้าน. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
การันต์ พุกชัยวานิชย์. (2556). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อและรูปแบการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อส่วน ประสมการตลาดของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งยี่ห้อพรานทะเลในเขตบางแค. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
กัลยา วาณิชบัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง SEM ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงแก้ว บวรกิจสุธี. (2556). คุณภาพการบริการไลฟ์สไตล์และปัจจัยส่วนประสมการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอพพลิเคชั้นบนโทรศัพท์มือถือ. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.
สถาบันอาหาร. (2560). สภาวะอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง ประจำเดือน กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560, จาก www.nfi.or.th
Aaker, D. A. (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the Value of a Brand Name. New York: Free Press.
Assael, Henry. (1998). Consumer Behavior and Marketing Action (6th ed.). Cinintati, Ohio: South - Western College Publishing.
Kotler, Philip. (2000). Marketing management (10th ed.). New Jersey: prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-13