ศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองชายแดนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-กวางตรี

ผู้แต่ง

  • ธนาวัฒน์ ปัทมฤทธิกุล นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชวลีย์ ณ ถลาง หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชมพูนุช จิตติถาวร หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเมืองชายแดน

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองชายแดนเพื่อเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-กวางตรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มีจำนวน 48 คน เป็นตัวแทนภาคธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน ผู้แระกอบการการท่องเที่ยว และภาคประชาชนชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเมืองชายแดนจังหวัดมุกดาหาร ใช้การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า เมืองชายแดนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย เช่นการแข่งจักรยาน และการแข่งขันวิ่งมาธอน เป็นต้น มีการคมนาคมภายในประเทศ และพื้นที่เชื่อมโยงที่สะดวกสบาย หน่วยงานภาครัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยมีการจัดตั้งแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันจัดตั้งเป็นเมืองแฝดสาม ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีความพร้อม ส่วนปัจจัยที่ควรพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ การบริการนักท่องเที่ยว เช่นการปรับปรุงระเบียบ ขั้นตอนการผ่านแดนให้มีความสะดวก และรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). สถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในช่วงห้าเดือนแรก ปี พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2558 สืบค้นจาก http://www.tourism.go.th/home/ details/11/83/24467
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2553 - 2557. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2558 จาก http://www.tourism.go.th/ home/listcontent/11/221/276
กนกวรรณ จงเจริญยิ่งยงและคณะ. (2551). โครงการ”การศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทยกับประเทศเวียดนาม”. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
กนกวรรณ มะโนรมย์. (2552). พัฒนาการและการขยายตัวของเมืองชายแดน: กรณีศึกษาเมืองโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กรมการปกครอง. (2557). รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2558, สืบค้นจาก http://stat.dopa.go.th/ stat/statnew/upstat_age.php
ณัฏฐินี ทองดีและคณะ. (2559). การจัดการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ชี มูล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวประเทศไทย ลาว และเวียดนาม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
ดลฤทัย โกวรรธนะกุล และคณะ. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำโขงบนฐานความเดิมแท้เพื่อตอบรับแผนการท่องเที่ยวของอาเซียน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
ทวีป ศิริรัศมี และพชรวรรณ สุขหมื่น. (2552). การท่องเที่ยวชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ พี เอส.พริ้นท์
ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล และคณะ. (2558). แผนงานการพัฒนาการบริหารจัดการของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเส้นทาง R3E เพื่อรองรับประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
ธนา จงสิทธิผล. (2558). ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สอนไช จันทะวง. (2554). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสะหวันนะเขตเพื่อเป็นเมืองท่องเที่ยวชายแดน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรศักดิ์ ศรีกระจ่าง และคณะ. (2556). โครงการศึกษาศักยภาพเส้นทางและมูลค่าเพิ่มของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสังคมและวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
องค์การท่องเที่ยวแห่งชาติลาว. บทประกอบความเห็นโดย ท่านดวงประเสริฐ ปะพัดสะลาง รองอธิบดีกรมโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว.
Anderson, J., & Shuttleworth, I. (1998). Sectarian demography, territoriallity and political development in Northern Ireland. Political Geography, 17, 187-208.249
Blatter, J. (1997). Explaining Cross border Cooperation: A Border-Focused.
Black, J. (1994). Boundaries and Conflict: International relations in ancient regime Europe. In C. Grundy-Warr (Ed.), Eurasia (Vol. 3, pp. 19-54). London: Routledge.
Felsenstein, D., & Freeman, D. (2001). Estimating the Impact of Cross border.
Glassner, M., & Fahrer, C. (2004). Political Geography. (3rd ed.). New Jersey: John Wiley & Sons.
Goeldner, C. R., Ritchie, J. R. B., & McINtosh, R. W. (2000). Tourism: Principles, Practices, Philosophies. (8th ed.). New York: Wiley.
Jansen-Verbeke, M. C. (1990). From Leisure Shopping to Shopping Tourism. Paper presented at the I.S.A. Conference, Madrid.
Jittithavorn ,C (2007). Thailand and Leisure Oriented Cross-Border mobility Constraints and Permeability. Tourism Management. University of Otago: New Zealand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-13