สาเหตุการขาดสอบของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • ศิวัช แย้มโสภี สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สาเหตุการขาดสอบ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ลักษณะการเรียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาตัวแปรที่เป็นสาเหตุการขาดสอบของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2) ศึกษาระดับความสำคัญของตัวแปรที่เป็นสาเหตุการขาดสอบของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ (3) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของตัวแปรที่เป็นสาเหตุการขาดสอบของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำแนกตามสถานภาพของนักศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ ซึ่งประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ได้ลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และขาดสอบในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่าอยู่ระหว่าง 0.67-1.0 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .927 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t test (Independent t test) ค่า F test (Independent sample F test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA (One-way Analysis of Variance) หรือ Brown-Forsyth ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่ม และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD) หรือ Dunnett's T3 ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษา ให้ความสำคัญกับสาเหตุการขาดสอบ ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษา ให้ความสำคัญกับสาเหตุการขาดสอบ อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ ด้านครอบครัว สังคม และตนเอง ด้านมหาวิทยาลัย ด้านการทำงาน และด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ (2) การขาดสอบของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีสาเหตุมาจาก ด้านครอบครัว สังคม และตนเอง ด้านมหาวิทยาลัย ด้านเศรษฐกิจ และด้านการทำงาน และ (3) นักศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีจำนวนครั้งที่เคยขาดสอบ เพศ อายุ และชั้นปีการศึกษา ต่างกัน ให้ความสำคัญกับสาเหตุการขาดสอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนนักศึกษาที่มีคณะที่ศึกษา จำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียน และลักษณะการเรียน ให้ความสำคัญกับสาเหตุการขาดสอบ ไม่แตกต่าง

References

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2528). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีเดชา.
กิติ ตยัคคานนท์. (2536). นักบริหารทันสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บัตเตอร์ฟลาย.
จริยา ขาวดี. (2550). รายงานผลการศึกษารายกรณีนักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมทางการเรียน โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จังหวัดนครนายก. นครนายก: โรงเรียนบ้านนา นายกพิทยากร.
จันทนา กาญจน์กมล. (2553). การปรับพฤติกรรมของนักศึกษาที่ขาดเรียนบ่อยวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับคุณภาพชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประจำภาคเรียนที่ 1/53. ทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชนิสรา พรมชัย. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการขาดสอบของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน. อำเภอแม่ลาว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558. งานวิจัยการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย.
นิรมล ศตวุฒิ, ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2543). หลักสูตรและ วิธีสอนทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปาลิตา เอกอุรุ, รัตนา พัฒโน, พลอยกนก ขุนชำนาญ, สุวภัทร อำพันสุขโข, จตุพร จิรันดร, ธีภาภรณ์ นฤมาณนลินี และอันธิกา ทิพย์จำนง. (2553). การศึกษาปัญหาการตอบข้อสอบบรรยายของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา. ทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย สงขลา.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2557). ระเบียบการและคู่มือสมัครเข้าเป็นนักศึกษา ม.ร.สมัครสอบส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2544). การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ลัดดา ยงยุทธ. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดสอบของนักเรียน/นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ. งานวิจัยสถาบัน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: อักษรพิพัฒน์.
สุธาสิด พงษ์วัน. (2550). ปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการระหว่าง บ้าน โรงเรียน และ จิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจที่จะดูแลญาติผู้สูงอายุของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒน- บริหารศาสตร์.
สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2542). พฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
อัสฌา บุญชัยยะ. (2551). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Department for Child, School and Families. (2007). Collection of reasons for absence from key state national curriculum 3 tests. Retrieved December 12, 2016, from http://www.dcsf.gov.uk/consultations
Galloway, D. (1982). Persistent absence from school. Education Research, 24(3), 188-196.
Pytel, B. (2006). Dropouts give reasons why do students leave high school without a diploma ?. Retrieved June 12, 2016, from http://educational issues. Suite 101.com/article.efm/dropouts-give_reasons
Scidenberg, B. (1976). Social Psychology. New York: Prentice-Hall.
Schargel, F. P., Thacker, T., & Bell, J. S. (2005). From at risk to academic excellence: What successful leaders do. Retrieved December 12, 2016, from http://www.focusas.com/ Dropouts.html
Texas Education Agency. (1998). Enrollment trends in texas public schools. Austin, TX: Author.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-13