ปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ที่มีผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวไทย ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ชิตวร ลีละผลิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ภัทรชนม์ รัชตะหิรัญ สาขาอุตาสหกรรมการท่องเที่ยว วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

คำสำคัญ:

สิ่งอำนวยความสะดวก, โฮมสเตย์, นักท่องเที่ยวไทย, ความต้องการ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ที่มีผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวไทยที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชาการศาสตร์กับความต้องการของนักท่องเที่ยวไทยที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และ(3) ศึกษาปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ที่มีผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวไทยที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยโดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวไทยในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 400 คน) ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ ค่าทดสอบ t-test เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และจำแนกลักษณะทางประชากรศาสตร์ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยของพหุคูณโดยวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression)

         ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวไทยที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-29 ปี สถานภาพโสด มีอาชีพเป็นนักเรียน/นิสิตนักศึกษา ศึกษาในระดับปริญญาตรี และ มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท นอกจากนี้ปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ที่นักท่องเที่ยวไทยมีความต้องการมากที่สุดคือ ด้านที่พักแรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 ส่วนผลการศึกษาด้านความต้องการของนักท่องเที่ยวไทย พบว่า นักท่องเที่ยวไทยมีระดับความต้องการมากที่สุด ได้แก่ มีความอยากรู้อยากเห็นที่จะได้พบสิ่งใหม่ และได้รับคุณค่าในการเดินทางท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12

         จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า  ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวไทยที่แตกต่างกัน มีความต้องการแตกต่างกัน ในด้านอายุ อาชีพ สถานะภาพ และระดับการศึกษา ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ส่วนปัจจัยด้านเพศ และรายได้ต่อเดือน มีความต้องการไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 

         ผลวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณคูณ (Multiple Regression Analysis) พบว่า ปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ จำแนกตาม ด้านที่พักแรม ด้านอาหาร ด้านแหล่งท่องเที่ยว และด้านความปลอดภัยมีผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน และปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ด้านการคมนาคมไม่มีผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน

References

ชลดา แสนคำเรืองและคณะ. (2556). ปัจจัยที่ผลต่ออุปสงค์การท่องเที่ยว: กรณีศึกษา การท่องเที่ยวในจังหวัดเลย. มหาวิทยาลัยรังสิต.
ณัฐพล ตันติวงศ์ตระกูล. (2554). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ถิรพร แสงพิรุณและคณะ. (2558). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดบริการบ้านพักแบบโฮมสเตย์ในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. เครือค่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ.
สุรชัย จันทร์จรัสและคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการกลับมาเที่ยวซ้ำเชียงคาน ของนักท่องเที่ยว. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ธเนศ ศรีวิชัยลําพันธ์. (2558). เศรษฐศาสตร์แรงงาน. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธัญวรัตน์ อัศยานนท์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักแรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน.กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ดีไซน์
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
วิษณุ บุญมารัตน์. (2012). การท่องเที่ยวโฮมสเตย์. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.wiszanu.com/index.php?option=com_content&task=view&id=854&Itemid =50. วันที่ค้น ข้อมูล : 18 กันยายน 2560.
อรพรรณ จันทร์อินทร์และคณะ. (2556). โครงการ การพัฒนาศักยภาพการท่องเทียวฮาลาลฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มมุสลิม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
Collier, Alan and Harraway, sue. (1997). The New Zealand Tourism Industry. Auckland: Longman,
Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-28