ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3

ผู้แต่ง

  • ณฐวัฒน์ พระงาม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 205 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.857 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการกระตุ้นทางปัญญา 2) การรับรู้ของครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับ
การกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
โกเมธ พิมพ์เบ้าธรรม. (2547). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับมัธยม สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1-5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
(การบริหารการศึกษา). เลย: สถาบันราชภัฎเลย.
ขวัญชัย จะเกรง. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัทลาวัลย์ สารสุข. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับ
ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2549). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:
เซ็นทรัลเอ็กช์เพรส.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2544). ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา
หน่วยที่ 5-9. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุทัยวรรณ ฝอยหิรัญ. (2551). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฎ
ราชนครินทร์.
Antonakis, J., & House, R.J. (2002). The full-range leadership theory: the way forward.
In B. J. Avolio, & F. J. Yammarino (Eds.), Transformational and Charismatic Leadership:
The Road Ahead. (3-33). Amsterdam: JAI.
Bass; B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York:
Free Press.
Bass; B. M. & Avolio; B. J. (1994). Improving organization effectiveness through transformation
leadership. Thousand Oak, CA: Sage.
Best; J. W. (1981). Research in Education 4th ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Dessler; G. (1998). Management: Leading people and organizations in the 21st century.
Upper Saddle River, New Jersey: Prentice-Hall.
Galpin, Timothy J. and Herndon, Mark. (2007). The Complete Guide to Mergers and
Acquisitions. San Francisco: Jossey –Bass.
House; R. J. (1977). A 1976 Theory of Charismatic Leadership. In Hunt; J. G.; & Larson; L. L.
(Eds), Leadership: The Cutting Edge. Carbondale, IL: Southern Illinois University Press.
Hoy; W. K. & Miskel C. G. (1991). Educational administration: Theory, research, and practice
4th ed. New York: McGraw-Hill.
Kotter; John P. (1999). John P. Kotter on What Leader Really Do. Boston: Havard Business
School Press.
Krejcie; R. V. & Morgan; D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.
Leithwood; K. & Jantzi; D. (1996). Toward an explanation of variation in teacher’s
perceptions of transformational school leadership. Educational Administration
Quarterly. 32(4), 512-538.
Lord, R. G., Brown, D. J., & Feiberg, S. J. (1999). Understanding the dynamics of leadership:
The role of follower self-concepts in the leader/follower relationship. Organizational
Behavior and Human Decision Processes, 78(3), 167-203.
Quinn, R.E.; Spreitzer, G.M. & Hart, S. L. (1991). Challenging the assumptions of bipolarity:
Interpenetration and managerial effectiveness. In S. Srivastva; R E. Fry, (Eds.)
Executive and organizational continuity: Managing the paradoxes of stability and
change. San Francisco: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-28