ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการธุรกิจฟิตเนสในเขตพื้นที่ลาดกระบัง

ผู้แต่ง

  • อรไท ชั้วเจริญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พรมนัส สิริธรังศรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กิตติ ชุณหศรีวงศ์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้บริการฟิตเนส, ความพึงพอใจในการบริการฟิตเนส, การบริหารจัดการฟิตเนส

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการฟิตเนส ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการบริหารจัดการฟิตเนสของประชาชนในเขตพื้นที่ลาดกระบัง และเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจฟิตเนส โดยทำการวางแผนเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) จากแบบสอบถามพฤติกรรมและความพึงพอใจในการบริหารจัดการฟิตเนสของผู้ใช้บริการจำนวน 400 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วยการวิเคราะห์ความถี่ (frequency) ร้อยละ (Percentile) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สำหรับสถิติเชิงอนุมาน (Inference Statistics) ทำการทดสอบสมมติฐาน ด้วยค่าสถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว (One-Way ANOVA)

          ผลวิจัยพบว่า

  1. ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มาใช้บริการฟิตเนสกับเพื่อน สำหรับกิจกรรมที่นิยมเล่นคือการวิ่งหรือการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้บริการฟิตเนสสัปดาห์ละ 3-5 วัน และนิยมมาใช้บริการในช่วงเวลาค่ำ (17.00 น.) ซึ่งการเข้าใช้บริการฟิตเนสในแต่ละครั้งจะใช้เวลาเฉลี่ย 1-1.5 ชั่วโมง ส่วนเหตุผลที่ต้องการมาออกกำลังกายที่ฟิตเนส เพราะความสะดวกและต้องการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  2. ความพึงพอใจในการบริหารจัดการฟิตเนสในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์/บริการ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ด้านบุคลากร (People) ด้านกระบวนการการให้บริการ (Process) และด้านลักษณะทางกายภาพภายนอก (Physical Evidence) และในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทั้งหมด
  3. แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจฟิตเนส ประกอบด้วย 1) ทำการตลาดเชิงรุกโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่รักษ์สุขภาพเป็นสำคัญ 2) ให้ความสำคัญกับความพร้อมของสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมให้บริการตลอดเวลา 3) สร้างกลยุทธ์ให้เกิดความผูกพันของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจที่จะทำให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืน

References

กวีพล พันธุ์เพ็ง. (2558). กระแสนิยมการออกกำลังกายกับโอกาสของธุรกิจฟิตเนส ไทยที่ไม่ควรมองข้าม. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2561, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/1347
คอตเลอร์ ฟิลลิป. (2545). Principle of Marketing = หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
จิริฒิพา เรืองกล. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพในการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้า วี ฟิตเนส โซไซตี้ กรุงเทพมหานคร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บดินทร์ เจริญประดับกุล. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรการเลือกใช้บริการของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกาย ฟิตเนส เฟิร์ท. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
ประสพชัย พสุนนท์, ณัฐวุฒิ ใจประเทศ, และอภิรักษ์ กิจถาวรภัคดี. (2558). ปัจจัยด้านการบริการมีความสัมพันธ์กับการเข้าใช้บริการสถานออกกำลังกาย กรณีศึกษาสถานออกกำลังกาย ฟิตเนสเฟิร์ส สาขาฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต. การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์ละรัฐศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 15. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พัชร์วริษฐ์ วัฒนปรีชากุล. (2556). ความพึงพอใจทางการตลาดที่มีประสิทธิผลของศูนย์ออกกำลังกายเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการการกีฬา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
มุกดาวรรณ สมบูรณ์วรรณะ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายขนาดใหญ่ (Fitness Center) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รุจิพจน์ อินทร์สุวรรณ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการที่ศูนย์ออกกำลังกาย อนันต์ไลน์ ฟิตเนส ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2543). รู้เฟื่องเรื่องศัพท์การบริหารธุรกิจ/การบริหารรัฐกิจ. กรุงเทพฯ: ไดมอน อิน บิสสิเน็ต เวิร์ล.
Marketeer Content 2. (2559). กระแสนิยมการออกกำลังกายกับโอกาสของธุรกิจฟิตเนสไทยที่ไม่ควรมองข้าม. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2561, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/1347
Taylor, Frederick W. (2002). The Principles of Scientific Management. New York: Harper.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13