พัฒนาการความเสมอภาคทางการเมืองของสตรีในสังคมไทย พ.ศ. 2510 - 2560

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา ทรงมัจฉา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความเสมอภาค, การเมืองของสตรี, สังคมไทย

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษา (1) บทบาททางการเมืองของสตรี (2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรี (3) พัฒนาการความเสมอภาคทางการเมืองของสตรีในห้วงเวลา พ.ศ. 2510-2560 และ (4) ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาบทบาทสตรีที่สอดคล้องกับความเสมอภาคทางการเมืองอย่างยั่งยืน สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มบุคคลที่เป็นนักการเมืองหรือแกนนำในการเรียกร้องต่าง ๆ และกลุ่มนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคและบทบาททางการ-เมืองของสตรีในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า ภาครัฐควรที่จะกำหนดเป็นนโยบายเพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้สตรีสามารถเข้าไปมีบทบาททางการเมืองในระดับท้องถิ่นได้มากยิ่งขึ้นโดยการกำหนดเป็นแผนการดำเนินงาน หรือกำหนดเป็นกิจกรรมที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ทางการเมืองของสตรี หรือกำหนดเป็นมาตรการเฉพาะสำหรับการเพิ่มสัดส่วนของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งควรให้มีการติดตามและประเมินผลกระทบจากการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศอย่างสม่ำเสมอ สุดท้ายสตรีควรมีความเชื่อมั่นหรือเห็นคุณค่าในตัวเองเป็นพื้นฐาน เพราะงานด้านการเมืองเป็นงานที่ต้องแก้ปัญหาให้กับประชาชน ต้องมีทั้งความมุ่งมั่น ความสามารถ และคุณธรรม เรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา จึงจะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางการเมืองได้อย่างยั่งยืน

References

นรนิติ เศรษฐบุตร. (2558). รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญเรือง ศรีเหรัญ. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการสอนวิทยาการวิธีการวิจัยขั้นสูง. ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558. (2558). ราชกิจจานุเบกษา, 332 (18ก), 17-27.
เพ็ญประภา ภัทรานุกรม. (2559). ความเหลื่อมล้ำทางเพศภาวะ: ปัญหาความรุนแรง ข้อท้าทายและทางออก. วารสารพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ฉบับพิเศษ18. 2559.
มาลี พฤกษ์พงศาวลี. (2554). สิทธิและโอกาสของผู้หญิงในการดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกในบริบทของพัฒนาการความเสมอภาคระหว่างเพศในประเทศไทย. จุลนิติ, สถาบันพระปกเกล้า. ปี8 ฉบับที่6.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาพรรณ อุปนิสากร. (2559). การพัฒนาบทบาทางการเมืองของสตรี. ธรรมทรรศน์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. ปี16 ฉบับ3
สถาบันพระปกเกล้า. (2551). สตรีกับการเมือง: ความเป็นจริง พื้นที่ทางการเมือง และการขับเคลื่อน. วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. นนทบุรี: โรงพิมพ์ธรรมดาเพลส.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2550). สตรีในสามทศวรรษของเศรษฐกิจไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร
สุธีรา ทอมสัน และเมธินี พงษ์เวช. (2539). ผู้หญิงไทย: สถานภาพและบทบาทที่เปลี่ยนแปลง. สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรา พงศาพิชญ์ และวิมลศิริ ชำนาญเวช. (2541). สถานภาพสตรีไทยทางกฎหมายและสังคม. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2554). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปี17 ฉบับที่1 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13