ความอิสระทางการเมืองของการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
ความเป็นอิสระทางการเมือง, การแข่งขันทางการเมือง, การเมืองท้องถิ่นในจังหวัดแพร่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นอิสระทางการเมืองของการเมืองท้องถิ่นในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในปีพ.ศ. 2554 มีหรือไม่อย่างไร และ (2) เหตุของความเป็นอิสระทางการเมืองของการเมืองท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งดังกล่าวเกิดจากเหตุใด ซึ่งเป็นการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองของผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยด้วยกันเองและมาจากรากฐานทางการเมืองเดียวกัน ผลการวิจัยพบว่า “การเมืองท้องถิ่นในจังหวัดแพร่มีความเป็นอิสระทางการเมืองแต่อยู่ภายใต้ข้อจำกัด” ด้วยพบการแสดงถึงความเป็นอิสระทางการเมืองต่อไปนี้ (1) การต่อสู้แข่งขันทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นกับนักการเมืองระดับชาติในพื้นที่ (2) การสนับสนุนผู้นำท้องถิ่นเพื่อต่อสู้ทางการเมืองกับพรรคการเมืองและนักการเมืองระดับชาติโดยกลุ่มการเมืองท้องถิ่นต่าง ๆ (3) วัตถุประสงค์ของการครองอำนาจทางการเมืองในการแข่งขันทางการเมืองดังกล่าวเพียงเพื่อปกป้องอำนาจทางการเมืองและทรัพยากรทางการเมืองในท้องถิ่นของตน ดังนั้นการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นกับนักการเมืองระดับชาติในพื้นที่และการสนับสนุนผู้นำท้องถิ่นเพื่อต่อสู้ทางการเมืองกับพรรคการเมืองและนักการเมืองระดับชาติรวมถึงวัตถุประสงค์และวิธีการที่ใช้ในการแข่งขันทางการเมืองดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระทางการเมืองของการเมืองท้องถิ่นที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมือง
References
ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข. (2548). L’ e’conomie des bines symboliques. (เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์) ของ ปิแยร์ บูร์ดิเยอ: บทแปลและบทวิเคราะห์มโนทัศน์ทางสังคมวิทยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลภาษา.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2542). การเมืองในระดับท้องถิ่น กับการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย: ศึกษาเปรียบเทียบการเมืองท้องถิ่นของสองนครในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. รายงานวิจัยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ปรีชา หงส์ไกรเลิศ. (2524). พรรคการเมืองและปัญหาพรรคการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนพานิช.
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2550). ชนชั้นนำในการเมืองไทยปัจจุบัน: การศึกษากระบวนการผลิตซ้ำทุนวัฒนธรรมตามแนวปิแอร์ บูร์ดิเออ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รัฐศาสตร์.
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2556). มโนทัศน์ชนชั้นและทุน ของ ปิแอร์ บูร์ดิเออ Concepts of Class and Capital of Pierre Bourdieu. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา ปีที่ 2(1).
ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. (2556). การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ: ศึกษาผ่านบทบาทของนักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน. วารสารธรรมศาสตร์, ปีที่ 32(1).
Dawson, Richard & Prewitt, Kenneth. (1969). Political Socialization. Boston: Little, Brown.
Husserl, Edmund. (1931). Ideas: General Introduction to Pure Phenomenology. Translated by W. R. Boyce Gibson. London: George Allen & Unwin Ltd.
James C. Scott (1972). Patron-Client Politics and Political Change in South-East Asia. American Political Science Review, Vol. 66(1).
Pye Lucian (1962), “Politics, Personality, and Nation Building: Burma’s Search for Identity”, New Haven: Yale University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว