ประสิทธิผลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • สุมิตรา บินทสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กัญญ์รัชการย์ นิลวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการบริหารของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ประชากรที่ใช้ คือ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประสิทธิผลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย คณะผู้บริหารโรงเรียน และคณะครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียน จำนวน 226 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และ 2) กลุ่มผู้วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครูมากที่สุด ด้านความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านความสามารถในการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีของครู ด้านความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้เรียน และด้านความสามารถในการปรับตัวได้อย่างเหมาะสมขององค์กร ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำแนกตามอายุ โดยภาพรวม แสดงว่า ผู้บริหารและคณะครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาแตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวม แสดงว่า ผู้บริหารและคณะครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาแตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 4 ด้าน มีดังนี้ (1) ด้านการบริหารงานวิชาการ คือ การพัฒนาหลักสูตรให้ตอบปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น (2) ทางด้านการบริหารงบประมาณ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน เพื่อการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของผู้เรียนอย่างเด่นชัด (3) ด้านการบริหารงานบุคคล คือ การวางแผนอัตรากำลังคน การกำหนดตำแหน่ง และภารกิจของสถานศึกษา การมอบหมายงานให้ตรงกับความรู้ ความสามารถ และส่งเสริมความก้าวหน้าในการทำงาน และ (4) ทางด้านการบริหารงานทั่วไป คือ การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบชัดเจน

References

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2. (2559). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2559. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS.พิมพ์ครั้งที่ 15. นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
นิศารัตน์ งามประเสริฐ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ปรีชา ปัญญานฤพล. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
พิมพรรณ สุริโย. (2552). ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 9 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วิรัตน์ มะโนวัฒนา. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 - 2559). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2559). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. นนทบุรี: กลุ่มนโยบายและแผนงาน.
Dondero, Grace M. (1993). School-based Management,Teacher ‘Decisional Participation Level School Effectiveness and Job Satisfaction. Dissertation Abstracts International.
Person. J.L. (1993). An Examination of The Relationship Between Participative.Management and Perceived Institutional Effectiveness in North Carolina community colleges.Dissertation Abstracts International. 53 (15): 1351 – A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13