ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2

ผู้แต่ง

  • ชมบวร เซ็นทองหลาง ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กัญญ์รัชการย์ นิลวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์กร, ข้าราชการครู, ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะงานที่ปฏิบัติของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กรกับลักษณะงานที่ปฏิบัติของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ประชากรที่ใช้ คือ ข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2 จำนวน 285 คน โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 3 ตอน คือ ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 6 ข้อ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ จำนวน 25 ข้อ และความผูกพันต่อองค์กร จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

           ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะงานที่ปฏิบัติของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ในภาพรวม มีสภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีลักษณะงานที่ปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านงานที่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รองลงมาคือ ด้านความหลากหลายในงาน ด้านความเป็นอิสระในงาน ด้านความเป็นเอกลักษณ์ของงาน และด้านผลสะท้อนกลับของงาน 2) ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2  มีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีความผูกพันต่อองค์กรมากที่สุด คือ ด้านความเกี่ยวพันกับองค์กร รองลงมาคือ ด้านความภักดีต่อองค์กร และด้านความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์กร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กรกับลักษณะงานที่ปฏิบัติของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2  ความผูกพันต่อองค์กรมีความสัมพันธ์มากที่สุดอยู่ในระดับค่อนข้างสูงกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ รองลงมา คือ ด้านความเป็นอิสระในงาน  มีความความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ด้านผลสะท้อนกลับของงาน  มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ด้านงานที่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง และด้านความเป็นเอกลักษณ์ของงาน  มีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างต่ำ

References

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2. (2559). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2559. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2.
จุฑาทิพย์ หอยนกคง. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วุฒิพงษ์ เข็มด้วง. (2555). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนชุมชนวัดเขาไม้แก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อุดมพร ใจเกื้อ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าแบบอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Buchanan II, Bruce. (1974). Building Organizational Commitment: The Socialization of Managers in Work Organization. Administrative Science Quarterly, 19(4), 533-546.
Sheldon, M.E. (1971). Investments and involvements as mechanism producing commitment to the organization. Administrative Science Quarterly, 16(2), 143-150.
Steers, R.M., et al. (1991). Motivation and work behavior (6th ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13