การศึกษาการบริหารจัดการระบบผู้ช่วยสอนของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • ณัฐวลัญช์ วังนิล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศุภฤกษ์ ทานาค มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นาตยา ปิลันธนานนท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ผู้ช่วยสอน, หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการระบบผู้ช่วยสอนของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์บุคลากรในสำนักวิชาการศึกษาทั่วไปฯ จากนั้นนำผลจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์และสร้างเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น โดยนำไปใช้กับประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ คณะผู้บริหารและบุคลากรสำนักวิชาการศึกษาทั่วไปฯ คณะกรรมการบริหารรายวิชาศึกษาทั่วไป และอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 104 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิตเชิงพรรณนาประกอบตาราง

           ผลการวิจัยพบว่า ผู้ช่วยสอนมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ผู้สอนหลัก รวมถึงการดูแลให้คำปรึกษานักศึกษาระหว่างทำกิจกรรมในชั้นเรียน และอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย รับผิดชอบในรายวิชาที่ตรงตามความถนัดหรือความสามารถของตนเองอย่างน้อยคนละ 1 วิชา โดยคัดเลือกจากผู้ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความเป็นผู้นำ เมื่อเข้ามาปฏิบัติงานแล้วต้องได้รับการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความสามารถของตนเอง ทั้งนี้ หน่วยงานควรให้ความสำคัญในด้านสวัสดิการของบุคลากร เพื่อสร้างความมั่นคงในการทำงาน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรและหน่วยงาน นอกจากนี้ เพื่อให้ผลการวิจัยเกิดประโยชน์มากที่สุด การเขียนภาระงานของผู้ช่วยสอนควรมีความละเอียดและชัดเจน เพื่อให้สามารถเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น และในการฝึกอบรมที่มีการวัดและประเมินผลซึ่งผลที่ได้นั้นหน่วยงานอาจจะนำไปใช้ในการประเมินความสามารถของผู้ช่วยสอน หรือใช้ในการจัดแบ่งผู้ช่วยสอนให้เหมาะสมตามรายวิชาที่ต้องรับผิดชอบและตรงตามความสามารถของผู้ช่วยสอนเองสุดท้ายหน่วยงานอาจจะต้องศึกษาหาวิธีการที่จะช่วยให้ผู้ช่วยสอน อาจารย์ผู้สอนหลัก และนักศึกษาสามารถสื่อสารกันได้ดี เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 (Online). จาก http://qasp.tu.ac.th/guide_office/paper_guide/standard_48.pdf,
ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2560.
เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองพริ้นติ้ง จำกัด.
ณัฐพงษ์ เพชรดีทน. (2558). คู่มือปฏิบัติงานผู้ประสานงานรายวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาศึกษาทั่วไป. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา. (2557). โครงการผู้ช่วยสอน (Teaching Assistantship: TA) ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 28 กรกฎาคม 2557.
ภูริภัทร แก้วศรี. (2553). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม. [สไลด์].
ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย. (2558). การบริหารจัดการองค์การตามทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรรเสริญ อินทรันต์ ฐิติยา เนตรวงษ์ รัชฎาพร ธิราวรรณ และนฤมล นิตย์จินต์. (2558). “การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.” วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2: 116-123.
สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์. (2558). หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (อัดสำเนา).
สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ. (2559). ประกาศคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ทุนผู้ช่วยสอน (Teaching Assistantship) ประจำภาคปลาย ปีการศึกษา 2559. 31 ตุลาคม 2559.
สุภาณี เส็งศรี. (2544). ระบบการเรียนการสอนทางไกลในสถาบันอุดมศึกษา “แผนมน. 2544”. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Armstrong. M. (2006). A Handbook of Human Resource Management Practice. 10th ed. Cambridge: Cambridge University Press.
Best choice Schools. (2017). Classes Taught by Teaching Assistants. Retrieved from http://www.bestchoiceschools.com/faq/who-teaches-college-freshman-courses/
Bohlander, G., S. Snell, and A. Sherman. (2001). Managing human resources. 12th ed. Cincinnati, OH: South-Western College Publishing.
Boston University. (n.d.). Working with Teaching Assistants and Graders. from https://www.bu.edu/sph/faculty-staff/teaching-and-advising/working-with-teaching-assistants-and-graders/
Brenda, R. (2012). Graduate teaching assistants' perceptions of their preparation for teaching in departments of communication studies at selected universities. Doctor of Philosophy Thesis in Arkansas State University.
Brown University. (2016). Teaching Assistants. from
https://www.brown.edu/about/administration/sheridan-center/teaching-learning/teaching-assistants
Michelle A. (2014). Becoming Foreign Language Teaching Assistants: A Case and Action Research Study of a University Course. Doctor of Philosophy Thesis in Margaret Warner Graduate School of Education & Human Development, University of Rochester.
Texas University. (2006). Teaching Assistants. from
https://www.policies.utexas.edu/policies/ teaching-assistants

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29