ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารและพนักงานเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อรรณพ อึ้งวิฑูรสถิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

มลพิษ, สิ่งแวดล้อม, การบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารและพนักงานเทศบาลตำบล 2) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบล และ 3) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารและพนักงานเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและพนักงานเทศบาลผู้ปฏิบัติงานตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 148 ราย ในการศึกษาครั้งนี้จะทำให้เข้าใจถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชนและนำไปสู่การแก้ไขรูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้ตรงกับความเป็นจริง ผลการวิจัยพบว่า

          1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารและพนักงานเทศบาลตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 70.00 คะแนน โดยผู้บริหารเทศบาลตำบล มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 71.00 คะแนน ส่วนพนักงานเทศบาลตำบล มีคะแนนเท่ากับ 69.00 คะแนน 2) การบริหารจัดการเกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารและพนักงานเทศบาลตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับปานกลาง  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.01 โดยผู้บริหารเทศบาลตำบล มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30  ส่วนพนักงานเทศบาลตำบล มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม  อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.72 3) ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้บริหาร มีความแตกต่างกับพนักงานเทศบาลตำบล อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน และ 4) ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายสูงกว่าพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้บริหารเทศบาลตำบลขนาดกลาง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม แตกต่างกับผู้บริหารเทศบาลตำบลขนาดเล็ก อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน

References

กาญจนา วัฒายุ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธนพรการ.
เกษม จันทร์แก้ว. (2545). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: อักษรสยามการพิมพ์.
ปรียานุช คิมหะจันทร์. (2542). บทบาทของปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2536). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2540). สิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วิภาเพ็ญ เจียสกุล. (2536). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตพื้นที่ชั้นกลาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมคิด รัตนวงศ์ไชย. (2541). ความรู้และความเข้าใจของคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สาวิตรี ธงยืน. (2547). เอกสารรายงานสถานการณ์คุณภาพลุ่มน้ำมูลตอนบน (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ). ม.ป.ท.
สำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา. (2546). เอกสารภาวะมลพิษสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครนครราชสีมา. นครราชสีมา: กองช่างสุขาภิบาล. อัดสำเนา.
สุนันท์ นิลบุตร. (2544). บทบาทของผู้บริหารกรุงเทพในการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุพัตรา พรหมมินทร์. (2542). ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุระ ปานเจริญศักดิ์. (2547). เวทีเสวนาเมืองโนนสูงจัดการขยะครบวงจรลดภาระต่อสิ่งแวดล้อมแปลงขยะเป็นทุนลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืนเป็นแบบอย่างของเมืองโคราช. ม.ป.ท. อัดสำเนา.
สุรินทร์ จันทบูรณ์. (2542). การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาเทศบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรวรรณ เย็นใจ. (2535). ความรู้และการปฏิบัติของประชาชนที่อาศัยบริเวณริมคลองกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลภายในครัวเรือนศึกษาเฉพาะกรณีคลองโอ่งอ่าง. วิทยานิพนธ์สังคมศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29