ผลสัมฤทธิ์ของนโยบายกระจายอำนาจเกี่ยวกับบริการสาธารณะท้องถิ่น: กรณีศึกษา 4 พื้นที่ในจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์, นโยบายกระจายอำนาจ, บริการสาธารณะท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนโยบายกระจายอำนาจเกี่ยวกับบริการสาธารณะท้องถิ่น (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้นโยบายกระจายอำนาจเกี่ยวกับบริการสาธารณะท้องถิ่นเกิดผลสัมฤทธิ์ (3) เพื่อศึกษากลไกและแนวทางในอนาคตในการกระจายอำนาจที่จะทำให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะอย่างมีคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า (a) ผลจากนโยบายกระจายอำนาจเกี่ยวกับบริการสาธารณะท้องถิ่น ทำให้ ประชาชนในท้องถิ่นได้รับบริการสาธารณะที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น (b) อย่างไรก็ตาม ท้องถิ่นเองก็ยังไม่สามารถให้บริการสาธารณะได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากติดปัญหาในเชิงอำนาจการบริหารจัดการที่ยังไม่ได้รับอิสระอย่างแท้จริง ทั้งในด้านข้อกฎหมาย งบประมาณ และโครงสร้างของระบบบริหารที่เน้นการรวมศูนย์อำนาจมากกว่าการกระจายอำนาจ มีสายการบังคับบัญชาซับซ้อนหลายชั้น บริการสาธารณะบางอย่างจึงเกิดความล่าช้า ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงกับประชาชนในท้องถิ่นที่จะได้รับบริการสาธารณะท้องถิ่นล่าช้าตามไปด้วย (c) ปัจจัยด้านบวกที่ช่วยส่งเสริมให้นโยบายกระจายอำนาจเกี่ยวกับบริการสาธารณะท้องถิ่นเกิดผลสัมฤทธิ์ คือ (1) อปท. มีผู้บริหารที่มีภาวะความเป็นผู้นำสูง บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความสามารถและมีความรับผิดชอบ (2) อปท. มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ (3) อปท. มีการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ให้กันภายในองค์กรระหว่างบุคลากรด้วยกันเอง (4) การบริหารงานของ อปท. มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภายนอก (5) อปท. มีความคล่องตัวในการแปลงวิสัยทัศน์ นโยบาย และยุทธศาสตร์ขององค์กรมาสู่การปฏิบัติงานอย่างแท้จริง (d) ปัจจัยด้านลบที่เป็นอุปสรรคต่อผลสัมฤทธิ์ของนโยบายกระจายอำนาจเกี่ยวกับบริการสาธารณะท้องถิ่น คือ (1) เรื่องงบประมาณที่รัฐจัดสรรเพื่อสนับสนุนท้องถิ่นยังไม่เพียงพอกับความต้องการ เช่น งบประมาณที่ อปท. ได้รับจัดสรรจากรัฐเมื่อเทียบกับขนาดของเมืองรวมถึงจำนวนประชากรแล้วยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง (2) อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ชัดเจน (3) การติดต่อกับส่วนกลางเกิดความล่าช้าเนื่องจากติดปัญหาด้านระบบการบริหารที่มีความซับซ้อน (e) สำหรับกลไกและแนวทางในอนาคตในการกระจายอำนาจที่จะทำให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะอย่างมีคุณภาพ ได้แก่ (1) เสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่น และทรัพยากรบุคคลของท้องถิ่น ให้มีความพร้อมในการจัดบริการสาธารณะที่ดีให้กับประชาชน (2) สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น (3) ให้ความรู้ในเรื่องของนโยบายกระจายอำนาจเกี่ยวกับบริการสาธารณะกับประชาชนในท้องถิ่น
References
จุมพล หนิมพานิช. (2547). การวิเคราะห์นโยบาย: ขอบขาย แนวคิด ทฤษฎีและกรณีตัวอย่าง.
นนทบุรีโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2544). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2557). จากการปกครองท้องถิ่นสู่ธรรมาภิบาลในท้องถิ่น. นนทบุรี: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรเดช จันทศร. (2548). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรงเทพฯ : คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว