พฤติกรรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตและความพึงพอใจต่อการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต เพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในจังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • วีรพงษ์ สุทาวัน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ความพึงพอใจ, สื่ออินเตอร์เน็ต

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในจังหวัดตาก 2) ความพึงพอใจต่อการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยว และ 3) ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตและความพึงพอใจต่อการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน  เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดตาก จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์

             ผลการวิจัย พบว่า 1) ส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวมากกว่า 3 วัน/สัปดาห์ โดยเฉลี่ย 3-4 ครั้ง/วัน ระยะเวลาเฉลี่ยต่อครั้ง 5-6 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ใช้อินเตอร์เน็ตมากที่สุดคือ 06.01-12.00 น. ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวผ่านอุปกรณ์มือถือ และมีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นผ่านเครือข่าย 2) ความพึงพอใจต่อการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในจังหวัดตาก โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ย มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต และความพึงพอใจต่อการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

 

References

กฤษฎากร ชูเลม็ด. (2557). พฤติกรรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตและความพึงพอใจต่อการใช้ สื่ออินเตอร์เน็ต
เพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในอำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2560-2563:
รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดตาก. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560, จาก
http://61.19.236.136:8090/dotr/touristlist.php?provinceid=17&provlat=16.883333&prov
long=99.000000
เดชา นันทพิชัย. (2548). แนวคิดและการประยุกต์ระบบสารสนเทศทางด้านสุขภาพ. บรรณารักษ์ศาสตร์
และสารนิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 23(2), 15-27.
นภัสวัณจ์ ศักดิ์ชัชวาล. (2553). พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อการ
ตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศ. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เนตรนภา กองงาม. (2551). การเปิดรับข่าวสาร ความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ที่มีเนื้อหา
เกี่ยวกับประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วิทยานิพนธ์การสื่อสารศึกษามหาบัณฑิต.
เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซด์.
เบญจมาภรณ์ คงชนะ และเรณุกา ขุนชำนาญ.(2560). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักท่องเที่ยว
เชิงเกษตร: กรณีศึกษาสวนสละอาทิตย์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี. คณะวิทยาการจัดการ สุราษฎร์ธานี:
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
พรรัตน์ ทองเลิศ และปาริชาต สถาปิตานนท์. (2556). การสื่อสารในการจัดการการท่องเที่ยวของสถานี
เกษตรหลวงอ่างขาง. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 6(2), 72 - 87.
ไพศาล กาญจนวงศ์. (2554). การประยุกต์ใช้ไอซีทีในบริบทธุรกิจท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2560,
จาก https://td260.wordpress.com/ category/06-.pdf
ไพศาล กาญจนวงศ์. (2557). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการท่องเที่ยวของ
นักท่องเที่ยวชาวจีน จังหวัดเชียงใหม่. คณะพัฒนาการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Anderson, E., Fornell, C., & Lehmann, D. (1994). Customer Satisfaction, Market Share and
Profitability: Findings from Sweden. Journal of Marketing, 58 (3), 53-66.
Best, J. W. (1981). Research in Education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
DeFleur, M. L., & Ball-Rokeach, S. J. (1989). Theories of Mass Communication (5th ed.).
New York: Longman.
Gliem, J. A., & Gliem, R. R. (2003). Calculating, Interpreting, and Reporting Cronbach’s Alpha
Reliability Coefficient for Likert- Type Scales. Retrieved August 30, 2007, from
http://www.alumni-osu.org/midwest/midwestpapers/Gliem&Gliem-Done.pdf


Klapper, J. T. (1960). The Effects of Communication. New York: Free Press.
Krikelas, J. (1983). Information-seeking Behavior: Patterns and Concepts. Drexel Library
Quarterly, 19(2), 5-20.
McCombs, M. E., & Becker, L. E. (1979). Using Mass Communication Theory. Englewood Cliffs,
New Jersey: Prentice-Hall.
Oliver, R. L. (1980). A cognitive model of the antecedents and consequences of satisfaction
decisions. Journal of Marketing Research. 17(1), 460-469.
Parker, C., & Mathews, B. P. (2001). Customer satisfaction: contrasting academic and
consumers’ interpretations. Marketing Intelligence & Planning, 19(1), 38-44.
Shelley, M. W. (1975). Responding to Social Change. Pennsylvania: Dowden Hutchison
Press.
Wenner, L. (1982). The Nature of news gratifications. Media gratifications research: Current
perspectives. Beverly Hills: Sage Publications.
Wright, R. C. (1927). Mass Communication: A Sociological Perspective. New York:
Random House.
Zeithaml, A. V., Leonard B. L and Parasuraman, A. (1996). The Behavioral Consequences of Service Quality. Journal of Marketing, 60(2), 31-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27