บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของนักการเมืองสตรีในรัฐสภา

ผู้แต่ง

  • ปรรณวัฒน์ ชูวิเชียร มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

พรรคประชาธิปัตย์, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, นักการเมืองสตรี

บทคัดย่อ

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักการเมืองสตรีในรัฐสภา 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของพรรคประชาธิปัตย์ในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของสตรีในรัฐสภา ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยทำการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร และจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก รวมไปถึงการการสังเกตการณ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ สามารถแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์และ (2) กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีของทางพรรคประชาธิปัตย์

              ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักการเมืองสตรีในรัฐสภา คือ (1) การคัดเลือกสตรีเข้ามาเป็นตัวแทน (2) สนับสนุนการทำงานของนักการเมืองสตรีในสภา สรุปได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักการเมืองสตรี ในรูปแบบที่เป็นทางการ 2) ปัญหาและอุปสรรคของพรรคประชาธิปัตย์ในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของสตรีในรัฐสภา มีทั้งหมด 5 ปัญหา ได้แก่ (1) วัฒนธรรมทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ (2) กฎระเบียบของพรรคประชาธิปัตย์ในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของสตรีในรัฐสภา (3) ปัญหาของกลุ่มสตรีของทางพรรคประชาธิปัตย์ในการทำกิจกรรมทางการเมือง (4) นโยบายของทางพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรี (5) ปัญหามุมมองของผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องข้อจำกัดของสตรี สรุปได้ว่า ปัญหาและอุปสรรคมาจากวัฒนธรรมทางการเมืองภายในพรรคยังมีระบบอุปถัมภ์ซึ่งเกิดขึ้นและดำรงอยู่มานานจนซึมซับเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ การขาดการต่อเนื่องไม่เป็นรูปธรรม การขาดปัจจัยทางด้านทุนทรัพย์ การไม่มีเวลามาร่วมทำกิจกรรมทางการเมืองของนักการเมืองสตรี

References

กอบกุล อิงคุทานนท์. (2537). ผู้หญิงกับอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ. (2541). รายงานสถานภาพสตรีไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.
โคทม อารียา และคณะ. (2540). การมีส่วนร่วมในทางการเมืองของสตรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.
ภัสสร ลิมานนท์. (2544). บทบาทเพศ สถานภาพสตรีกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2549). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548.กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์ การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2551). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550.กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์ การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2555). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554.กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์ การพิมพ์.
Coffe, H., & Schnellecke, K. (2013). Female Representation in German Parliamentary Committees: 1972-2009. Retrieved 12 March 2019, from
https://ecpr.eu/filestore/paperproposal/24876915-576b-42af-a5e8-55630fb57038.pdf
Human Rights Education and Monitoring Center (EMC). (2014). Women & Political.
Caul, M. (1997). Women’s Representation in Parliament: The Role of Political parties. University of California, Irvine, School of Social Sciences.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27