ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
คำสำคัญ:
ปัจจัย, องค์กรแห่งการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการความรู้ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 293 คน ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนมาทั้งสิ้น 293 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้น
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับวัฒนธรรมองค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการความรู้ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเฉพาะด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง รองลงมาเป็นด้านวัฒนธรรมองค์กร และด้านการจัดการความรู้ ตามลำดับ ส่วนลำดับสุดท้ายคือ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร รองลงมาคือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และการเพิ่มอำนาจบุคคล ตามลำดับ ส่วนลำดับสุดท้าย คือ พลวัตการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X4) และปัจจัยด้านการจัดการความรู้ (X3)
สมการถดถอยหรือสมการทำนายในรูปคะแนนดิบ ได้แก่
Y = a + B4X4 + B3X3
= .757 + .366 X4 + .414 X3
สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ
Z = β4Z4 + β3Z3
= .510 Z4 + .490 Z3
References
กระทรวงศึกษาการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
กัญญ์ภัคญา ภัทรไชยอนันท์. (2557).วัฒนธรรมองค์กรกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชลธิชา อนันต์นาวี. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยะ ละมูลมอญ. (2556). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
พัชรกันย์ เมธาอัครเกียรติ. (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศรีวรรณ จันทร์เชื้อ.(2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการเป็นองค์แห่งการเรียนรู้ของข้าราชการและบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.
วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
สุทธศรี วงษ์สมาน. (2551). รายงานผลการวิจัยเรื่อง สภาวะการขาดแคลนครู คณาจารย์และบุคลากรทาง การศึกษาและข้อเสนอแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Fatma, E. & Maryam, M. (2011). Relationship between LO Dimensions & HRM Practices.
Hussein, N., Mohamad, A., Noordin, F., & Ishak, N. A. (2014). Learning Organization and its Effect on Organizational Performance and Organizational Innovativeness: A Proposed Framework for Malaysian Public Institutions of Higher Education Published by Elsevier Ltd.
Langley. (2003). The case for a genuine partnership between teachers and the state the British Educational Research Association Annual Conference, Heriot-Watt University, Edinburgh, 11-13 September 2003.
Marquardt, M. J. (1995). Building the Learning Organization: System Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill,1996.
Senge, P. M. (1990). The fife Discipline: The art and Practice of the learning Organization. London: Random House.
Watkins, K. E. & Marsick, V. J. (1993). Sculpting the learning organization. San Francisco: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว