ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านและสนับสนุน การใช้เทคโนโลยี GMOs ในเกษตรกรรมไทย

ผู้แต่ง

  • ธีรนนท์ ประเสริฐกมลเทพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง, วิถีเกษตรทางเลือก, วิถีเกษตรวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษา มูลเหตุและแรงจูงใจ ลักษณะและรูปแบบการเคลื่อนไหว ปัญหาอุปสรรค ความสำเร็จ และความล้มเหลวของการเคลื่อนไหวต่อต้านและสนับสนุน รวมถึงแนวทางการตัดสินใจของรัฐบาลเกี่ยวกับเทคโนโลยี GMOs ในเกษตรกรรมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 3 กลุ่มคือ (1) กลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้าน  (2) กลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวสนับสนุน (3) กลุ่มตัวแทนองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และนำเสนอแบบเชิงพรรณา

         ผลการวิจัยพบว่า 1) มูลเหตุและแรงจูงใจที่สำคัญของขบวนการต่อต้านคือ ความกังวลในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี GMOs 2) ลักษณะและรูปแบบการเคลื่อนไหวของทั้งสองฝ่ายมีความคล้ายคลึงกันจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบคือ (1) การเคลื่อนไหว (2) การเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันกฎหมาย (3) การฟ้องร้องต่อศาล ในประเทศไทยมีเพียงฝ่ายต่อต้าน GMOs ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐ 3) ปัญหาอุปสรรคซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันคือ (1) สาธารณชนขาดความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี GMOs (2) การยึดมั่นในวิถีเกษตรที่ขัดแย้งกัน (3) ความขัดแย้งกันในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ยากจะยอมกันได้ ภาครัฐจึงควรตัดสินใจโดยยึดหลักผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมเป็นสำคัญ

References

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ และเควิน ฮิววิสัน. (2552). บทวิพากษ์ "การเมืองภาคประชาชน" ในประเทศไทย: ข้อจำกัดของแนววิเคราะห์และยุทธศาสตร์การเมืองแบบ "ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่. วารสารฟ้าเดียวกัน, 7 (2), 120-155.
ชูชัย ศุภวงศ์ และยุวดี คาดการณ์ไกล. (2541). ประชาสังคม: ทรรศนะนักคิดในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). รายงานวิจัยเรื่องสุนทรียศาสตร์กับการเมืองภาคประชาชน. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2544). บทสังเคราะห์ภาพรวม การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ณรงค์ บุญสวยขวัญ. (2549). ขบวนการปฏิบัติการประชาสังคมกับการใช้อำนาจรัฐในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์สาขาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ธีรยุทธ์ บุญมี. (2536). สังคมเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร.
ไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2532). ผู้นำชุมชน. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวลน้อย ตรีรัตน์ และกนกศักดิ์ แก้วเพท. (2545). การต่อต้านทุจริตยาภาคประชาชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิ นิธิวีรกุล. (2018). 'การเมืองภาคประชาสังคม' ถ้อยคำที่หายไปในรัฐธรรมนูญ 60. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2018, จาก https://waymagazine.org/words-no-longer-in-2560-constitution/
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล. (2548). การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2551). การเมืองภาคพลเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
Bajunid, F. O. (2001). Islam and Civil Society in Southeast Asia. In Nakamura, M., Siddique, S. & Bajunid, F. O. (Eds.). Institute of Southeast Asian Studies. Singapore: ISEAS.
Baker, G. (1998). Civil Society and Democracy: The Gap between Theory and Possibility. Politics, 18(2).
Baker, G. (1999). The Taming of the Idea of civil Society. Democratization, 6(3).
Mathews, D. (1999). Politics for People: Finding a Responsible Public Voice (2nd ed.). University of Illinois Press.
Melucci, A. (1985). The Symbolic Challenge of Contemporary Movements. Social Research, 52(4), 789-816.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27