ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • กัญญารัตน์ จงวิไลเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, การให้บริการ, องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางจัดการปรับปรุงระบบงานการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ จากประชากรทั้งหมด 17,355 คน ได้สุ่มกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 375 คน โดยจากการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีลักษณะเป็นคำถามแบบเลือกตอบ แบบมาตรส่วนประเมินค่าและแบบสอบถามปลายเปิดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษาพบว่า 1) ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความถูกต้องของงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านความเสมอภาคในการให้บริการ ด้านกิริยามารยาทของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านระยะเวลาการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านสภาพแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบล มีค่าเฉลี่ยอยู่ต่ำสุด 2) แนวทางในการจัดการปรับปรุงระบบงานพบว่าเจ้าหน้าที่ควรมีการตรวจสอบด้านคุณภาพการบริการอย่างเคร่งครัด โดยให้บริการด้วยความเอาใจใส่ ยิ้มแย้ม การแสดงท่าทางกิริยามารยาทอย่างเหมาะสม และควรมีการจัดระบบการให้บริการแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกันด้วยความถูกต้องและรวดเร็ว

References

กฤษดา จันทร์เจริญ. (2554). ศักยภาพในการนำนโยบายถ่ายโอนงานด้านสวัสดิการสังคมไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลชั้น 1 ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิสรา เขียวอ่อน. (2551). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบทบาทของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรทิพย์ ศิริชูทรัพย์. (2550). การเปิดรับข่าวสารความรู้ทัศนคติและการมีส่วนร่วมต่อปัญหาสังคมของกลุ่มผู้ใช้สื่ออินเตอร์เน็ตบนเว็บไซต์ขององค์กรพัฒนาเอกชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพบูลย์ ช่างเรียน. (2552). วัฒนธรรมการบริหาร. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
มงคล กุญชรินทร์. (2550). การพัฒนางานด้านสวัสดิการสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2550). การบริหารงานแบบคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เอเชียเพรส.
วิยะดา ตีระแพทย์. (2542). การนำนโยบายถ่ายโอนงานด้านสวัสดิการสังคมสู่การปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชาติ กิจยรรยง และ จีรชา ใจเปี่ยม. (2552). เกมกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างและพัฒนาทีมงาน. กรุงเทพฯ: พาวเวอร์ฟูลไลฟ์.
สุมามาลย์ หอมดวง. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสำนักงานทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุดา ศิลากุล. (2548). การจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนทร เกษร. (2544). ความพร้อมของการจัดบริการสวัสดีการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านเพื่อรองรับการถอนสภาพนิคมสร้างตนเอง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Millet, D. J. (1954). Management in the Public Service. The quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book.
Thurstone, L. L., & Chave, E. J. (1966). The measurement of attitude. Chicago: Chicago University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27