รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ถนอมชาติ ชำนิราชกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบของการพัฒนา, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงวัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยที่อยู่ในเขตอำนาจการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพูด  อำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางพูด  อำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  กลุ่มประชากรเป็นผู้สูงอายุจำนวน 1,010 คน ใช้สูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 287 คน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า เมื่อพิจารณาโดยรวมระดับความต้องการพื้นฐานอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายชื่อความต้องการผู้สูงอายุเรียงตามลำดับสูงต่ำเป็นดังนี้ผู้สูงอายุต้องการคนช่วยดูแลในยามเจ็บไข้ได้ป่วย ผู้สูงอายุต้องการได้รับการให้กำลังใจ ผู้สูงอายุต้องการคนที่รับฟังปัญหาและความต้องการต่างๆของเขาและผู้สูงอายุต้องการได้รับการยอมรับและความเห็นอกเห็นใจจากสมาชิกของครอบครัวและจากเพื่อนบ้าน ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับความเห็นของผู้สูงอายุ เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี  พบว่าผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ประการสุดท้ายและสำคัญมากคือรัฐบาลควรจัดสรรเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุทุกคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเป็นนโยบายที่ดียิ่งมากที่สุด

References

คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2544). ร่างแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2558). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์ พริ้นท์ จำกัด.
นลินี โลห์ชิงชัยฤทธิ์. (2558). การประเมินผลการดำเนินงานสวัสดิการด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: เทศบาลเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิตประภา แก้วกระจ่าง. (2560). การประเมินผลโครงการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในหมู่บ้าน และชุมชนเมือง (เบี้ยยังชีพ) กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บริบูรณ์ พรพิบูลย์. (2558). โลกยามชราและการเตรียมตัวเพื่อเป็นสุข. เชียงใหม่: โรงพิมพ์พระสิงห์การพิมพ์.
ประนอม โอทกานนนท์ ชวนพิศ สินธุวรการ และผ่องใส เจนศุภการ. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 1(4), 25-30.
พัชรวัต ปิยะโอสถสรรค์. (2552). ยุทธศาสตร์และนโยบายสาธารณะ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
มหาดไทย, กระทรวง. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการมีส่วนร่วม. (2558). ซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชัพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และการมีส่วนร่วม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27