ส่วนประสมทางการตลาดบริการ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อที่มีผลต่อความตั้งใจ กลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าที่ซื้อสินค้าในซุปเปอร์สโตร์ผ่านแอพพลิเคชั่น

ผู้แต่ง

  • งามตา นามแสง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ, กลับมาซื้อซ้ำ, ซุปเปอร์สโตร์, แอพพลิเคชั่น

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าในซุปเปอร์สโตร์ผ่านแอพพลิเคชั่น และ 2) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าในซุปเปอร์สโตร์ผ่านแอพพลิเคชั่นที่มีผลต่อการตัดสินใจกลับมาซื้อสินค้าในซุปเปอร์สโตร์ผ่านแอพพลิเคชั่นซ้ำ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่สุ่มเลือกจากคนที่ใช้แอพพลิเคชั่นในการซื้อสินค้าในซุปเปอร์สโตร์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์

            ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด และ ด้านกระบวนการ 2) พฤติกรรมการซื้อสินค้าในซุปเปอร์สโตร์ผ่านแอพพลิเคชั่น ด้านจำนวนครั้ง โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ครั้ง/3 เดือน และค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าต่อครั้ง โดยเฉลี่ยประมาณ 817 บาท โดยลูกค้าส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง มีเหตุผลที่เลือกซื้อเพราะคุณภาพสินค้า แนวโน้มความตั้งใจซื้อซ้ำ ด้านการกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้งอยู่ในระดับซื้อแน่นอน จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการโดยรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด มีผลต่อตัดสินใจกลับมาซื้อสินค้าในซุปเปอร์สโตร์ผ่านแอพพลิเคชั่น ด้านจำนวนครั้ง อย่างมีนัยสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าในซุปเปอร์สโตร์ผ่านแอพพลิเคชั่น ด้านจำนวนครั้ง และด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าต่อครั้ง มีผลต่อความความตั้งใจกลับมาซื้อซ้ำ ด้านการกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง และด้านการแนะนำให้ผู้อื่นมาซื้อสินค้า อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05

References

จารุณี ฮาบิดิน. (2553). คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ ทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าและแนวโน้มพฤติกรรมการซื้ออาหารแช่แข็งพรานทะเลในเขต กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
โพสต์ทูเดย์. (2558). เส้นทางธุรกิจเครื่องสำอางไทยสู่ตลาดโลก. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2558, จาก http://www.posttoday.com/biz/news/4127996
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซแทกซ์.
สุภาวรรณ ชัยทวีวุฒิกุล. (2555). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบร่วมกลุ่มกันซื้อบนเว็บไซต์ ENSOGO ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บธ.ม. (การตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27