การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยด้วยหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้ป่วย, หลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเป็นอย่างไร ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวข้องทั้งเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ แล้ววิเคราะห์แยกประเด็น ศึกษาและสังเคราะห์แนวคิดพลัง 4 หลัก 3 กล้า หลักจริยธรรมดูแลและหลักการแพทย์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
ผลการศึกษาพบว่า การจะพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยด้วยหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางได้นั้น ควรส่งเสริมพลัง 4 คือ พลังสร้างสรรค์ พลังปรับตัว พลังร่วมมือ และพลังแสวงหาให้กับผู้ป่วย ได้แก่ การสนับสนุนให้ผู้ป่วยกล้าเผชิญความเป็นจริงที่ไม่ใช่แค่การปลอบใจตัวเอง กล้าเผชิญความกลัวและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ การส่งเสริมให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยให้เชื่อมั่นในศักยภาพตนเอง การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและบุคลากรด้านการแพทย์ให้กล้าประเมินวิธีปฏิบัติและกล้ารับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้ตัดสินใจเลือก ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและบุคลากรด้านการแพทย์ รวมทั้งการแสวงหากิจกรรมที่สร้างคุณค่าทางจิตใจให้กับผู้ป่วยด้วยการพัฒนาจิตตปัญญา (contemplation) นอกจากนี้การสนับสนุนให้ญาติผู้ป่วยและบุคลากรด้านการแพทย์ใช้หลักจริยธรรมดูแล และสนับสนุนให้ระบบบริการสุขภาพใช้หลักการแพทย์แบบมีส่วนร่วมโดยยอมรับความเชื่อพื้นฐานของทุกฝ่ายและเชื่อมั่นว่าประชาชนมีความสามารถในการจัดการสุขภาพตนเองได้ เรียนรู้ได้ ชุมชนสามารถร่วมดูแลสุขภาพคนในชุมชนได้ ด้านการบริการสุขภาพภาครัฐ ควรให้บริการประชาชนในเชิงสวัสดิการ ไม่ควรดำเนินการในเชิงธุรกิจ
References
กีรติ บุญเจือ. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพมหานคร: เชน ปริ้นติ้ง.
กีรติ บุญเจือ. (2556). “ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม (รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน”. วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม.
กีรติ บุญเจือ. (2559). ความสุขแท้จากปัญญารู้ตัวเอง. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2560, จาก https://thamdimisukh.wordpress.com/2017/07/31/
นงณภัทร รุ่งเนย. (2559). การประเมินสุขภาพแบบองค์รวม. นนทบุรี: บริษัท ธนาเพลส จำกัด
รวิช ตาแก้ว. (2557). ความหมายของคำ “ดีงาม” ในบริบทวัฒนธรรมไทย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธาน. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วิเศษ แสงกาญจนวนิช. (2559). การตีความการแพทย์ด้วยปรัชญากระบวนทรรศน์. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2560, จาก
http://thamdimisukh.wordpress.com/2017/09/18/medicinebyparadigm/
วิเศษ แสงกาญจนวนิช และเอนก สุวรรณบัณฑิต. (2559). การวิเคราะห์การแพทย์แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต: ระดับใหม่ของสังคมที่ดีขึ้น. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2559). คุณภาพชีวิตตามสัญชาตญาณ. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2560, จาก https://thamdimisukh.wordpress.com/2017/08/02/
เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2559). จิตบำบัดแบบอัตถิภาวะนิยม. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2560, จาก https://thamdimisukh.wordpress.com/2017/07/31/
Bunchua, K. (2014). “84,000 Dhamma Khandhas are for Scholars, Not for Educators”. Journal of Suan Sunandha Rajabhat University.
DePoy E. & Gilson S. F. (2012). Human behavior theory and applications: A critical thinking Approach. Thousand Oakes, CA: Sage Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว